Page 46 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 46

3.4.1 เสริมสร้างความพร้อมของชุมชนในการรับมือและฟื้นคืนกลับหรือฟื้นเร็วทั่วอย่างยั่งยืน
               (Resilience)

                           3.4.2 ส่งเสริมการลงทุนสาธารณะในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยและสภาพภูมิอากาศ
               เพื่อปกป้องผลพวงที่ได้จากการพัฒนา
                           3.4.3 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

                           3.4.4 ส่งเสริมการใช้และพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการลดความเสี่ยงจาก
               สาธารณภัย
                           3.4.5 สนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาล ความโปร่งใสและความร่วมรับผิดชอบของทุกภาคส่วนในการ
               จัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย

                           3.4.6 สนับสนุนให้การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน

               4. การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศไทย

                      4.1 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550
                           รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น เพื่อให้เป็นกฎหมายหลักในการบริหารจัดการสาธารณภัย มีผล
               บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 52 ก วันที่ 7

               กันยายน 2550) โดยยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติป้องกันและ
               ระงับอัคคีภัย พ.ศ.2542 เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแนวทางเดียวกัน ตลอดจน
               เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการอ านวยการและบริหารจัดการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

               และในปี พ.ศ.2545 ได้ตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจหลักในการ
               ด าเนินการป้องกัน บรรเทา ฟื้นฟูสาธารณภัยและอุบัติภัย  ในพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
               พ.ศ.2550  ประกอบด้วยสาระส าคัญดังนี้ (คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, 2552)
                            4.1.1 ขอบเขตการด าเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ครอบคลุมสาธารณภัยทุกประเภท

               โดยได้มีการก าหนดค านิยามของสาธารณภัย ภัยด้านความมั่นคงไว้อย่างชัดเจน
                           4.1.2 การก าหนดนโยบายในการจัดท าแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ด าเนิน
               การโดยคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.)  ซึ่งมีกรรมการทั้งหมด 23  คน  โดย
               มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ

                           4.1.3 ก าหนดให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานกลางของรัฐ ในการด าเนินการ
               เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ
                           4.1.4 แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ก าหนดให้มีการจัดท าแผน 3 ระดับ คือ แผนการ
               ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และแผนการป้องกัน

               และบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร
                           4.1.5. ก าหนดบุคคลผู้มีอ านาจหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและผู้เกี่ยวข้องไว้
               อย่างเป็นเอกภาพชัดเจนในทุกระดับตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น







               46
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51