Page 51 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 51

การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย




                                                                                           อาจารย์ปาณิศา บุณยรัตกลิน



               วัตถุประสงค์
                      เมื่อนักศึกษาเรียนเรื่องนี้จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
                      1. บอกความส าคัญ/ความหมายของการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยได้

                      2. อธิบายหลักการและกรอบแนวคิดในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยได้
                      3. อธิบายการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยได้
                      4. อธิบายการด าเนินการลดความเสี่ยงสาธารณภัยในระดับโรงพยาบาล ระดับโรงเรียน ระดับชุมชนได้
                      5. อธิบายการด าเนินการตามแนวปฏิบัติและเครื่องมือต่างๆ ในการลดความเสี่ยงสาธารณภัยได้

                      6. ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยกับกรณีศึกษาได้

                      สถานการณ์โลกในปัจจุบัน มีการเกิดสาธารณภัยขึ้นบ่อยครั้ง และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่งผล
               ตั้งแต่ระดับบุคคลไปยังระดับประเทศชาติ โดยเกิดความเสียหายแก่ชีวิต บ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชน

               เสียหายต่อการประกอบกิจการต่างๆ รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศชาติ ท าให้การด าเนินกิจการต่างๆต้อง
               หยุดชะงักไป ซึ่งกว่าจะฟื้นฟูกลับมาได้สู่ภาวะปกติจะต้องใช้ทั้งทรัพยากร และเวลาจ านวนมาก ซึ่งการที่จะ
               จัดการกับสาธารณภัยต้องอาศัยแนวทางหลายๆ อย่างในการจัดการ การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

               (Disaster Risk Reduction: DRR) เป็นแนวทางหนึ่งที่จะท าให้สามารถจัดการสาธาธารณภัยได้อย่างมี
               ประสิทธิภาพและยั่งยืนได้


               1. ความส าคัญ/ความหมายของการลดความเสี่ยงสาธารณภัย
                      1.1 นิยามค าศัพท์ที่เกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

                      ความเสี่ยงจากสาธารณภัย (Disaster Risk) หมายถึง “โอกาสหรือความเป็นไปได้ในการได้รับ
               ผลกระทบทางลบจากการเกิดสาธารณภัยโดยผลกระทบสามารถเกิดขึ้นกับชีวิตสุขภาพการประกอบอาชีพ
               ทรัพย์สินและบริการต่าง ๆ ในระดับบุคคล ชุมชน สังคม หรือประเทศ” ความเสี่ยงมิได้เป็นผลจากการเกิดภัย
               ขึ้นเท่านั้น หากแต่เป็นผลของการเกิดภัยผสมผสานกับสภาพของสังคม ซึ่งท าให้สังคมนั้น ๆ มีโอกาสได้รับ
               ผลกระทบจากการเกิดภัยมากขึ้น (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, 2557)

                      - ภัย (hazard) เหตุการณ์ที่เกิดจากธรรมชาติหรือการกระท าของมนุษย์ที่อาจน ามาซึ่งความสูญเสียต่อ
               ชีวิต ทรัพย์สิน ตลอดจนท าให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม
                      - ความล่อแหลม (exposure) การที่ผู้คน อาคารบ้านเรือน ทรัพย์สิน ระบบต่าง ๆ หรือองค์ประกอบ

               ใด ๆ มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยและอาจได้รับความเสียหาย
                      - ความเปราะบาง (vulnerability) ปัจจัยหรือสภาวะใด ๆ ที่ท าให้ชุมชนหรือสังคมขาดความสามารถ
               ในการปกป้องตนเอง ท าให้ไม่สามารถรับมือกับสาธารณภัยหรือไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วจากความ






                                                                                                       51
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56