Page 55 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 55
ยุทธศาสตร์ แผนการด าเนินโครงการ
2. การป้องกัน และลดผลกระทบ นวัตกรรม การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และโครงการเพื่อปกป้อง
(ต่อ) ทางสังคม
3. การเตรียมความพร้อมและการ 5. โครงการด้านการตอบโต้อย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน (RESPONSE AS
เผชิญเหตุการณ์ฉุกเฉิน ONE) ยกระดับการเตรียมความพร้อม และแสดงให้เห็นถึงความ
ร่วมมือของอาเซียนในการเผชิญเหตุฉุกเฉินร่วมกัน
6. โครงการด้านการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ (EQUIP) เพิ่ม
ศักยภาพบุคคล หน่วยงาน และ การด าเนินงานด้านโลจิสติกส์ของ
ภูมิภาคอาเซียนให้สามารถเผชิญเหตุฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว
4. การฟื้นฟู 7. โครงการด้านการฟื้นฟู(RECOVER) เพิ่มศักยภาพของอาเซียนใน
การฟื้นฟูอย่างรวดเร็วด้วยทรัพยากรที่ เพียงพอและด้วยท้องถิ่น
5. การจัดการความรู้ และนวัตกรรม 8. โครงการด้านการสร้างบทบาทน าของภูมิภาค (LEAD) เสริมสร้าง
ระบบและกลไกการจัดการความรู้ของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งความ
เป็นมืออาชีพ เพื่อให้อาเซียนเป็นผู้น าและเป็นศูนย์กลางในการ
เรียนรู้ด้านการจัดการสาธารณภัย
2.2 แนวทางการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยในประเทศไทย
ประเทศไทยให้ความส าคัญกับการประยุกต์แนวความคิดเรื่องการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย และ
สร้างกลไกเพื่อด าเนินการจัดการและลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยภายในประเทศทั้งด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์
และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในทางกฎหมายประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.
2550 เป็นแนวทางในการด าเนินงาน และเป็นกฎหมายหลักในการจัดการสาธารณภัยของประเทศไทย นโยบาย
ประเทศไทยได้น าแนวคิดการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยมาใช้ในการเตรียมความพร้อมเพื่อลดความสูญเสียที่
อาจเกิดขึ้นจากสาธารณภัย ซึ่งได้ก าหนดในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เป็นกรอบการพัฒนา
ประเทศในระยะยาว มีวิสัยทัศน์เพื่อน าพาประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน มีเป้าหมายการ
ด าเนินงานด้านการจัดการสาธารณภัยครอบคลุมทุกด้าน ทั้งระบบการบริหารจัดการรูปแบบต่าง ๆ การป้องกัน
ภัยในทุกรูปแบบ ตลอดจนการเฝ้าระวัง การเตือนภัยทางธรรมชาติ และการจัดท าแผนที่เสี่ยงภัยทั้งในระดับ
ภูมิภาคและจังหวัด (คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ, 2558)
ส าหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้มีการเน้นเรื่องการ
บริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านสาธารณภัยไว้ในยุทธศาสตร์ ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อ
การพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งสนับสนุนให้มีการบูรณาการการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยเข้าสู่กระบวนการ
วางแผนทั้ง ระดับชุมชน ท้องถิ่น ระดับชาติ และสาขาการผลิตต่าง ๆ ไปพร้อมกับการเสริมสร้างขีด
ความสามารถในการเตรียมความพร้อมและการรับมือสาธารณภัย
2.3 หลักการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย เป็นการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่สามารถ
ด าเนินการได้โดยไม่ต้องรอให้เกิดสาธารณภัย เป็นกระบวนการเชิงรุกที่ช่วยลดความล่อแหลม ความเปราะบาง
ของประชาชนและสังคม ให้ความส าคัญกับมาตรการที่สามารถด าเนินการใน 3 ระยะของการเกิดภัย ดังนี้
2.3.1 การลดความเสี่ยงในระยะก่อนเกิดภัย ประกอบด้วยการด าเนินการ 2 อย่างคือ
55