Page 56 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 56
- การป้องกันและลดผลกระทบ (prevention and mitigation) คือการด าเเนินการเพื่อขจัด
หรือลดโอกาสที่สาธารณภัยจะสร้างผลกระทบต่อบุคคลชุมชนหรือสังคมโดยมากจะเกี่ยวข้องแต่ไม่จ ากัดแต่
เพียงการใช้โครงสร้างการก่อสร้างเพื่อป้องกันภัย เช่น การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ า การสร้างก าแพงกั้นน้ าริมตลิ่ง
การสร้างระบบระบายน้ าหรือการสร้างอาคารที่คงทนต่อแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว เป็นต้น แต่ยัง
ครอบคลุมถึงการด าเนินงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช้โครงสร้างการก่อสร้างที่ท าให้การด าเนินงาน ที่เกี่ยวกับโครงสร้างเพื่อ
ป้องกันและลดผลกระทบจากภัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การออกกฎหมายควบคุมมาตรฐานการก่อสร้าง
อาคาร การจัดสรรการใช้ประโยชน์ที่ดิน การอบรมวิศวกรในการก่อสร้างเขื่อน การขุดลอกคูคลอง เป็นต้น
- การเตรียมความพร้อม (preparedness) คือ การด าเนินงานเพื่อให้ประชาชนหรือชุมชนมี
ความรู้และทักษะต่าง ๆ พร้อมที่จะเผชิญกับภัย เช่น การพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยและการกระจายข่าวสาร
การวางแผนเผชิญเหตุ การฝึกซ้อมแผน การจัดท าแผนอพยพและเตรียมเส้นทางอพยพ การเตรียมเครื่อง
อุปโภคบริโภค การเตรียมด้านเครื่องจักรกล เครื่องมือ และงบประมาณ การเตรียมพร้อมบุคคลากรในการ
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยการฝึกทักษะการกู้ชีพกู้ภัย เป็นต้น รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการด ารงชีพ
ให้สอดรับกับสภาวะแวดล้อม เช่น การปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชเพาะปลูกให้คงทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป
การยกบ้านให้สูงขึ้นหากอยู่ในพื้นที่น้ าท่วม เป็นต้น
2.3.2 การลดความเสี่ยงในระยะของการเผชิญเหตุ ค านึงถึงความเสี่ยงต่อภัยซ้ าซ้อน และให้
ความส าคัญกับการรักษาชีวิตของผู้ประสบภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือเกิดสาธารณภัยเป็นหลัก เช่น เมื่อ
เผชิญเหตุการณ์น้ าท่วม อาจให้ความส าคัญกับการเลือกพื้นที่ตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ให้ไม่อยู่ในพื้นที่ที่อาจ
ถูกน้ าท่วม หรือไม่อยู่ในพื้นที่ที่อาจจะประสบภัยต่อเนื่องอื่นๆ โดยเน้นในการให้ความช่วยเหลือกู้ชีพ กู้ภัย การ
พยาบาลและสาธารณสุข ตลอดจนการบรรเทาทุกข์และแจกจ่ายสิ่งของยังชีพ การดูแลช่วยเหลือผู้อพยพและ
การจัดการศูนย์อพยพรวมทั้งการจัดการระบบบัญชาการเหตุการณ์ทั้งระบบสั่งการ ระบบการสื่อสาร
ประสานงาน และอื่น ๆ ที่จะท าให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถรับมือกับเหตุการณ์และให้การช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ทั้งนี้หากมีการเตรียมการในการเผชิญเหตุได้ดีตั้งแต่ในระยะ
ก่อนเกิดภัยก็จะช่วยให้การด าเนินงานเมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นจริงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.3.3 การลดความเสี่ยงในระยะหลังเกิดภัย มุ่งเน้นในการฟื้นฟูสถานการณ์ภายหลังการเกิด
สาธารณภัยเพื่อให้บุคคลชุมชนหรือสังคมได้ฟื้นสภาพกลับมาเป็นปกติ ซึ่งมีทางเลือก 2 ทางคือการสร้างคืนใหม่
ให้เหมือนเดิมและการสร้างคืนใหม่ให้ดีกว่าเดิม (build back better) โดยมากประกอบด้วยการฟื้นฟูในเชิง
โครงสร้างด้วยการซ่อมสร้าง(reconstruction) เช่น การซ่อมแซมอาคารบ้านเรือน โครงสร้างพื้นฐานและสิ่ง
อ านวยความสะดวก เป็นต้น และการฟื้นสภาพ (rehabilitation) เช่น การดูแลสภาพแวดล้อมและสุขอนามัย
การให้ค าปรึกษาทางจิตสังคม การฟื้นฟูสภาพจิตใจ และการเยียวยาด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การ
ฟื้นฟูเป็นไปอย่างมีแนวทางที่ยั่งยืนภายหลังการเกิดสาธารณภัยจึงควรมีการประเมินความสูญเสียและความ
เสียหายที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งการประเมินความต้องการของผู้ประสบภัยเพื่อจัดท าแผนฟื้นฟูและบูรณะขึ้นอย่าง
เป็นระบบ
2.4 กลยุทธ์การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย
กลยุทธ์ที่ 1 สร้างระบบการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยให้มีมาตรฐาน เนื่องจากเป็น
กระบวนการที่ช่วยตรวจสอบระดับความเสี่ยงที่ชุมชนหรือสังคมมีต่อสาธารณภัย โดยการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง
56