Page 53 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 53

ศักยภาพในการเตรียมความพร้อมการเผชิญเหตุและการฟื้นฟูให้กลับคืนสภาพได้อย่างรวดเร็ว และดีขึ้น
               กว่าเดิมโดยก าหนดภารกิจส าคัญที่ควรปฏิบัติ (Priorities for Action) ไว้ทั้งสิ้น 4 ประการ ได้แก่

                              1) เข้าใจความเสี่ยงจากสาธารณภัย: การบริหารจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยจ าเป็นต้อง
               อยู่บนพื้นฐาน ความเข้าใจความเสี่ยงภัย ทั้งความล่อแหลม ความเปราะบาง ศักยภาพ และลักษณะภัยที่อาจ
               เกิดขึ้น

                              2) เสริมสร้างศักยภาพในการบริหารและจัดการความเสี่ยง: โครงสร้างและกลไกในการบริหาร
               จัดการ ความเสี่ยงในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ช่วยสร้างความเชื่อมโยงในทางกฎหมาย ข้อบังคับ
               นโยบายสาธารณะ ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ตลอดจนการก าหนดบทบาทหน้าที่ การสร้างแรงจูงใจ
                              3) ลงทุนในด้านการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย เพื่อให้พร้อมรับมือและฟื้นคืนกลับได้อย่าง

               รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ: การลงทุนของภาครัฐและเอกชนในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย
               ทั้งในเชิงโครงสร้างและแบบที่ไม่ใช่เชิงโครงสร้างมีความส าคัญในการสร้างรีซีเลียนซ์ (Resilience) ทั้งในด้าน
               เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และวัฒนธรรมในระดับ บุคคล ชุมชน และประเทศ
                              4) พัฒนาศักยภาพการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพตลอดจนการ

               ฟื้นสภาพและ ซ่อมสร้างให้ดีกว่าเดิมในช่วงของการบูรณะฟื้นฟูภายหลังเกิดสาธารณภัย: การเตรียมความพร้อม
               ป้องกันสาธารณภัยเป็น สิ่งจ าเป็นเพื่อให้มีการเตรียมการรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถฟื้นฟูได้
               อย่างทันท่วงที หากมีการ เตรียมพร้อมโดยเฉพาะ “การสร้างคืนใหม่ให้ดีกว่าเดิม (build back better)”
                              นอกจากนี้กรอบเซนได ฯ ยังได้ก าหนดตัวชี้วัด เพื่อให้สามารถติดตามและประเมินผลการไว้ 7 ข้อ

                              1) อัตราการเสียชีวิตจากสาธารณภัยของโลกลดลง
                              2) จ านวนผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยของโลกลดลง
                              3) ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสาธารณภัยโดยตรงลดลง

                              4) สาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ส าคัญได้รับความเสียหายจากสาธารณภัยลดลง
                              5) จ านวนประเทศที่มียุทธศาสตร์ลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยในระดับชาติและท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
                              6) มีการยกระดับการ ให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศแก่ประเทศก าลังพัฒนา
                              7) ประชาชนเข้าถึงข้อมูลการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าและข้อมูลความเสี่ยงจากสาธารณภัยมากขึ้น
                              การด าเนินการตามกรอบเซนได ฯ ยังช่วยให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

               (Sustainable Development Goals: SDGs) ซึ่งเป็นประเด็นส าคัญของวาระการพัฒนาที่มุ่งเน้นการปฏิบัติที่
               ท าให้ทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส าคัญในการลดความยากจน และบูรณาการมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และ
               สิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยไม่ทิ้งผู้ใดไว้เบื้องหลัง ภายในปี พ.ศ. 2573 ประกอบด้วย 17

               เป้าหมาย 169 เป้าประสงค์ ซึ่งการการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยเป็นกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงและ
               ส่งเสริมการด าเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย SDGs ที่ส าคัญหลายประการโดยเฉพาะเป้าหมายที่ 11 ท าให้เมือง
               และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึงพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างยั่งยืน
                              - การสร้างภูมิต้านทาน และลดความล่อแหลมเปราะบางต่อเหตุรุนแรงด้านภูมิอากาศและ
               สาธารณภัยให้กับผู้ที่ยากจนและอยู่ในสถานการณ์เปราะบาง ช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจนทุก

               รูปแบบทุกสถานที่
                             - การเสริมขีดความสามารถของภาคการผลิตอาหารในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ
               ภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยอื่น ๆ ตลอดจนการช่วยพัฒนาที่ดินและคุณภาพที่ดิน





                                                                                                       53
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58