Page 57 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 57

ความล่อแหลมและความเปราะบางที่อาจก่อให้เกิดอันตราย โดยมีแนวทางปฏิบัติในการประเมินความเสี่ยงจาก
               สาธารณภัย ดังนี้

                           1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยง
                              1.1) ประเมินสถานการณ์ปัจจุบันและข้อมูลที่มีอยู่เพื่อทราบถึงความสามารถในการ
               เตรียมพร้อม

                              1.2) ประเมินภัยอันตราย เพื่อให้ทราบถึงความรุนแรง ประเภทของภัย และสถานที่
                              1.3) การประเมินความล่อแหลม เพื่อให้ทราบถึงประชาชน ทรัพย์สินที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
                              1.4) การวิเคราะห์ความเปราะบาง เพื่อให้ทราบความสามารถต้านทานต่อภัยอันตราย
                              1.5) การวิเคราะห์ความสูญเสียและผลกระทบ เพื่อคาดคะเนความสูญเสียต่อประชาชน

               ทรัพย์สิน การบริการการด ารงชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากสาธารณภัย และประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
               และสังคม
                              1.6) การจัดท าข้อมูลสถานะความเสี่ยงและการประเมินผลเพื่อให้การจัดการความเสี่ยงจาก
               สาธารณภัย เกิดความคุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์

                              1.7) การวางแผนปฏิบัติการและการทบทวนกลยุทธ์ริเริ่มโครงการในการลดความเสี่ยง
                           2) เพิ่มศักยภาพให้ระดับท้องถิ่น อ าเภอ และจังหวัดในการประเมินความเปราะบาง และความ
               ล่อแหลม
                           3) เพิ่มศักยภาพและปรับปรุงการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยระดับชาติ เพื่อใช้ในการ

               ก าหนดนโยบาย การลดความเสี่ยง การจัดสรรงบประมาณ ออกกฎระเบียบ จัดท าแผนงาน รวมถึงจัดท าดัชนี
               ความเสี่ยงและแผนที่เสี่ยงภัย
                           กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนามาตรการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

                           1) แนวทางปฏิบัติในการป้องกันและลดผลกระทบ เป็นการด าเนินการเพื่อลดโอกาสที่สาธารณภัยจะ
               สร้างผลกระทบต่อบุคคล ชุมชนหรือสังคม โดยไม่จ ากัดแต่เพียงการใช้โครงสร้างเพื่อป้องกันภัย เช่น การสร้าง
               เขื่อนเก็บกักน้ า การสร้างระบบระบายน้ า หรือสร้างอาคารที่คงทนต่อแรงสั่นสะเทือน แต่ยังครอบคลุมถึงการ
               ด าเนินงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่โครงสร้าง เช่น การออกกฎหมายควบคุมมาตรฐานก่อสร้างอาคาร การฝึกอบรมทักษะให้
               ออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างได้มาตรฐาน

                           2) แนวทางปฏิบัติในการเตรียมความพร้อม เป็นการด าเนินการที่เน้นช่วงก่อนเกิดภัยเพื่อให้
               ประชาชนหรือชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีองค์ความรู้ ขีดความสามารถ และทักษะต่าง ๆ พร้อมที่จะ
               รับมือกับสาธารณภัย

                              2.1) การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานหรือการลดความเสี่ยงจาก
               สาธารณภัยระดับชุมชนโดยเน้นชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกัน แก้ไข บรรเทา และฟื้นฟูความเสียหายจาก
               สาธารณภัย เพื่อลดความเสี่ยงภัยของชุมชนและเพิ่มขีดความสามารถให้คนในชุมชนมีศักยภาพในการระงับ
               บรรเทาภัยได้ด้วยตนเองในระดับหนึ่งก่อนที่หน่วยงานภายนอกจะให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งสร้างภาคีเครือข่าย
               ภาคประชาชนในรูปแบบอาสาสมัคร

                              2.2) การฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สร้างความพร้อมและเพิ่มศักยภาพของ
               หน่วยงานและบุคลากร รวมทั้งเป็นการทดสอบการประสานงานและการบูรณาการความร่วมมือ ท าให้ทราบ







                                                                                                       57
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62