Page 62 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 62
วิเคราะห์ความล่อแหลม ความเปราะบาง และศักยภาพในระดับชุมชนร่วมกัน เช่น โครงสร้าง
ประชากร เด็ก สตรี คนชรา ผู้พิการ ช่วยเหลือตัวเองได้มากน้อยขนาดไหน และอาศัยบริเวณใด
วิเคราะห์ถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจว่าคนในชุมชนประกอบอาชีพใดบ้าง และประกอบอาชีพ
เหล่านั้นในช่วงเวลาใดบ้างของปี ทอผ้า ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ หรือไม่ ช่วงฤดูการเก็บเกี่ยว
ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีองค์กรชุมชนช่วยเหลือกันหรือเป็นชุมชนที่มีความสัมพันธ์ในชุมชนหรือไม่
สมาชิกในชุมชนมีความรู้ในการช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่นเรื่องการปฐมพยาบาล การกู้ชีพกู้ภัยเพียงใด
มีศูนย์พยาบาล มีวัด มีโรงเรียนที่เป็นองค์กรทางสังคมของชุมชนหรือไม่
มีความสัมพันธ์กับชุมชนข้างเคียง หรือมีเครือข่ายที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือ
ระดับเมืองและประเทศ
พิจารณาและระบุภัยที่เกิดขึ้น ระบุความล่อแหลมและความเปราะบางที่มีในระดับประเทศ
พิจารณาว่าจะมุ่งเน้นประเมินความเสี่ยงเฉพาะภัยอะไร หรือจะวิเคราะห์ความเสี่ยงของภัยหลายชนิด
ใช้ทฤษฎีทางสถิติเข้ามาผสมผสานกับการส ารวจข้อมูล ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
(geographic information system: GIS) เข้ามาเกี่ยวข้องและต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ให้บุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
4. การด าเนินการลดความเสี่ยงสาธารณภัย
4.1 ระดับโรงพยาบาล การบริหารจัดการเมื่อเกิดสาธารณภัยให้เป็นไปตามแผนของโรงพยาบาลจะ
ได้ผลดีขึ้นกับการเตรียมความพร้อม ซึ่งวัตถุประสงค์ของการจัดท าแผนเตรียมพร้อมรับสาธารณภัยของ
โรงพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลลดอัตราการสูญเสีย (สถาบันการแพทย์
ฉุกเฉิน, 2557)
4.1.1 การเตรียมพร้อมกรณีเกิดสาธารณภัยในโรงพยาบาล เป็นการวางแผนให้ความ
ช่วยเหลือกรณีที่เกิดสาธารณภัยในโรงพยาบาลหรือมีผู้ประสบภัยมาที่โรงพยาบาลจ านวนมาก
4.1.1.1 การจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมพร้อมรับสาธารณภัยของโรงพยาบาล
4.1.1.2 การจัดท าแผนเตรียมพร้อมรับสาธารณภัย
- ระบบการรับแจ้งเหตุ
- การประเมินสถานการณ์และการประกาศใช้แผน
- การจัดตั้งกองบัญชาการและศูนย์ปฏิบัติการ
- การประสานงานและการติดต่อสื่อสาร
- การเคลื่อนย้ายและการส่งต่อ
- การประชาสัมพันธ์
4.1.1.3 การเตรียมความพร้อมด้าน บุคลากร ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ สถานที่
4.1.1.4 การซ้อมแผน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ เพื่อ
เป็นแนวทางพัฒนาข้อบกพร่องของแผนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4.1.2 การเตรียมพร้อมกรณีเกิดสาธารณภัยนอกโรงพยาบาลเป็นการวางแผนให้ความ
ช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย ณ จุดเกิดเหตุ รวมทั้งการน าส่งผู้ประสบภัยเพื่อการรักษาต่อ
4.1.2.1 การประเมินสถานการณ์ การรายงานเหตุการณ์ และการขอก าลังเสริม
62