Page 63 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 63

4.1.2.2 การควบคุมและจ ากัดพื้นที่อันตราย รวมถึงการจัดการเส้นทางการจราจร
                                     4.1.2.3 การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยมายังที่ปลอดภัยเพื่อจัดเป็นที่คัดแยก

                                     4.1.2.4 การจ าแนกกลุ่มผู้บาดเจ็บ
                                     4.1.2.5 การช่วยชีวิตและปฐมพยาบาล
                                     4.1.2.6 การล าเลียงส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสม

                                     4.1.2.7 การประสานงานและการติดต่อสื่อสาร
                              4.1.3 กรณีตัวอย่างการเตรียมพร้อมรับสาธารณภัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (โรงพยาบาล
                จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, 2561) การมีระบบการเตรียมพร้อมรับสาธารณภัยที่ดีและมีประสิทธิภาพใน
                โรงพยาบาลจะสามารถ ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเป็นจ านวนมากได้อย่างรวดเร็ว เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดอัตรา

                การบาดเจ็บ ความพิการ ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และการสูญเสียให้ได้มากที่สุดด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
                อย่างจ ากัดให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่าสูงสุด โดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
                              1) ขั้นเตรียมการ เป็นการเตรียมวางแผนก าหนดสถานที่ ตัวบุคคล และหน้าที่ เมื่อยังไม่มี
                เหตุการณ์ผิดปกติ เพื่อให้เกิดความพร้อมและจัดการซ้อมให้เกิดความพร้อมและให้บุคลากรได้ท าความรู้จักกับแผน

                              2) ขั้นเตรียมพร้อม เป็นการเตรียมและเริ่มปฏิบัติการบางส่วนเมื่อเริ่มมีเหตุการณ์ผิดปกติขึ้น
                และ คาดคะเนว่าจะมีผู้ป่วยจ านวนมากมาโรงพยาบาล รวมทั้งเมื่อเริ่มประกาศใช้แผนแล้ว แต่ผู้ป่วยยังมาไม่
                ถึงโรงพยาบาล ได้แก่ การเตรียมสถานที่และเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
                              3) ขั้นปฏิบัติการ เมื่อผู้ป่วยคนแรกมาถึงโรงพยาบาล และมีผู้ป่วยอื่นๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง

                              4) ขั้นฟื้นฟูสภาพจิตใจ เมื่อเหตุการณ์ก าลังรุนแรงอยู่ หรือเมื่อเหตุการณ์รุนแรงผ่านไปแล้ว มี
                การ สูญเสียทรัพย์สมบัติ และสูญเสียชีวิตของผู้ใกล้ชิด ท าให้เกิดเสียขวัญและก าลังใจ ตลอดจนความเกรงกลัวต่อ
                ภัย ที่ยังอาจมีอยู่จ าเป็นต้องมีการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้กลับเป็นปกติโดยเร็ว แผนงานหลักของโรงพยาบาล มีดังนี้

                              - ประกาศการใช้แผนพร้อมรับสาธารณภัย โดยผู้อ านวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
                              - เตรียมพร้อมสถานที่ ได้แก่ ประตูโรงพยาบาลไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง พื้นที่รอบตึกฉุกเฉิน ห้อง
                              ฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ตึกนิติเวช จุดลดการปนเปื้อน (Decontamination area) และบริเวณที่
                              จะตั้งศูนย์อ านวยการ
                              - เตรียมพร้อมส าหรับหน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ ฝ่ายรังสีวิทยา ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร ฝ่าย

                ธนาคาร เลือด ฝ่ายเภสัชกรรม ฝ่ายโภชนวิทยาและโภชนบ าบัด ฝ่ายนิติเวชศาสตร์ ฝ่ายเลขานุการ ฝ่าย
                ประชาสัมพันธ์ หน่วยจ่ายกลาง หน่วยแม่บ้าน ฝ่ายบริหารอาคารและสิ่งแวดล้อม หน่วย รปภ. หน่วยยานยนต์
                หน่วยวิศวกรรมและ งานช่าง และฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

                              - ระดมก าลังเจ้าหน้าที่ และมอบหมายความรับผิดชอบ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล
                เจ้าหน้าที่พยาบาล เวรเปล เจ้าหน้าที่ห้องบัตร ประชาสัมพันธ์ และ รปภ.
                              - ระดมก าลังเป็นหน้าที่ของศูนย์โทรศัพท์ ประกาศทางเสียงตามสายของโรงพยาบาลเป็นระยะๆ
                              - โทรศัพท์รายงานประกาศใช้แผนให้ทราบตามบัญชีรายชื่อทั้งหอพักแพทย์/พยาบาล
                              - เมื่อแต่ละหน่วยงานได้รับแจ้งเหตุแล้ว ต้องมีการระดมก าลังของหน่วยงานตนเองตามแผน

                              4.1.4 การเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ของโรงพยาบาล ควรค านึงถึงหลัก ดังนี้
                                     4.1.4.1 จัดตั้งเกณฑ์ในการประกาศเริ่มแผน โดยก าหนดว่าเมื่อใดจะมีการประกาศใช้
               แผนรับมือสาธารณภัยและอุบัติภัยหมู่ อาจตั้งเป็นรหัสเพื่อบอกระดับความรุนแรงของเหตุการณ์และแนวปฏิบัติ





                                                                                                       63
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68