Page 64 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 64
4.1.4.2 ประเมินศักยภาพของโรงพยาบาลในการรองรับจ านวนผู้บาดเจ็บ
4.1.4.3 จัดตั้งศูนย์บัญชาการในขณะเกิดเหตุ ให้มีหน้าที่ดูแลทุกด้าน ทั้งหน่วยคัด
กรอง หน่วยดูแล รักษา ผู้ป่วย ระบบรถพยาบาล สถานีต ารวจ หน่วยรถดับเพลิง และหน่วยงานราชการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง
4.1.4.4 ในขณะเกิดเหตุควรมีการเพิ่มระบบการสื่อสารให้เพียงพอ
4.1.4.5 จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้และเสบียงต่างๆ
4.1.4.6 จัดสถานที่ให้การรักษาเบื้องต้นแก่ผู้บาดเจ็บ ควรก าหนดพื้นที่ต่างๆ ไว้ก่อน
4.1.4.7 ฝึกซ้อมเตรียมรับสาธารณภัยและอุบัติภัยหมู่ เพื่อให้คุ้นเคยกับการจัดการ
4.1.4.8 จัดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยให้เพียงพอ ควรมีเส้นทางจราจรของผู้ป่วย
ที่ไม่ฉุกเฉิน แยกออกไป เส้นทางจราจรของรถพยาบาลฉุกเฉินควรเป็นเส้นทางเดียว หน่วยรักษาความปลอดภัย
ควรแยกผู้สื่อข่าวหรือญาติของผู้บาดเจ็บออกไปจากพื้นที่ท าการดูแลรักษา เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
4.1.5 ปัญหาที่อาจพบได้จากการเกิดสาธารณภัยหรืออุบัติภัยหมู่ของโรงพยาบาล มีดังนี้
- ขาดระบบการเตือนภัยที่แม่นย า และทันท่วงที
- ขาดระบบการท างานในโรงพยาบาลที่ดี
- ระบบการสื่อสารขัดข้องหรือล้มเหลว
- ขาดอุปกรณ์สนับสนุนที่เพียงพอเพื่อท าการรักษา
- ขาดการสื่อสารกับสื่อหรือประชาชนที่เหมาะสม
- ขาดการสื่อสารกับผู้กู้ภัยในที่เกิดเหตุ หรือมีปัญหาในการสื่อสารระหว่างแผนกต่างๆ
- ขาดระบบผู้บังคับบัญชาเหตุการณ์ที่ดี
- บุคลากรในโรงพยาบาลขาดประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยอุบัติภัยหมู่หรือได้รับสารพิษ
- ขาดระบบการจัดท าและแจ้งรายชื่อผู้บาดเจ็บสู่สาธารณะ
4.2 ระดับโรงเรียน การลดความเสี่ยงในระดับโรงเรียนมีเป้าหมายให้เกิดความปลอดภัยรอบด้านใน
โรงเรียน
เพื่อคุ้มครองนักเรียนและบุคลากรด้านการศึกษาจากการบาดเจ็บ และเสียชีวิตในโรงเรียน
เพื่อให้โรงเรียนวางแผนจัดการศึกษาต่อเนื่องแม้ในระหว่างที่เกิดสาธารณภัย
เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการลดความเสี่ยงและการฟื้นตัวของภาคการศึกษา โดยกรอบ
แนวคิดความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน ประกอบด้วยสามเสาหลัก (Three Pillars)
(GADRRRES, 2017) ได้แก่
เสาหลักที่ 1 สิ่งอ านวยความสะดวกในการเรียนที่ปลอดภัย (Safer Learning Facilities)
ผู้มีบทบาทหลัก: บุคลากร/หน่วยงานด้านการศึกษาและการวางแผน สถาปนิก วิศวกร
ผู้รับเหมาก่อสร้างบุคลากรโรงเรียน และสมาชิกชุมชนที่มีบทบาทตัดสินใจด้านการเลือกสถานที่ตั้งโรงเรียนที่
ปลอดภัย การก่อสร้าง และการดูแลรักษาโรงเรียน (รวมถึงการเข้าถึงอาคารสถานที่และสิ่งอ านวยความสะดวก
ได้อย่างปลอดภัย)
เสาหลักที่ 2 : การบริหารจัดการสาธารณภัยในโรงเรียน (School Disaster Management)
64