Page 65 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 65

ผู้มีบทบาทหลัก : ผู้บริหารภาคการศึกษาทั้งในระดับประเทศ และระดับจังหวัด ร่วมงานกับ
               หน่วยงานด้านการบริหารจัดการสาธารณภัยที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่ในระดับโรงเรียน ได้แก่ บุคลากรใน

               โรงเรียน นักเรียนและผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนที่ปลอดภัย ตัวอย่าง
               กิจกรรม เช่น
                                     - การจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน

                                     - การประเมินความเสี่ยงภัยในโรงเรียนและชุมชน
                                     - การจัดท าแผนความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน
                                     - การฝึกซ้อมแผน (ใช้สถานการณ์จ าลอง ฝึกการรายงานเหตุการณ์และบันทึก
               ประชุมทบทวนแผนหลังจากฝึกซ้อมเป็นประจ า และต่อเนื่อง)

                                     - การแจ้งเตือนภัย (เพื่เตรียมพร้อม เพื่ออพยพ)
                                     - การอพยพ (การแจ้งเตือนภัย หนีไปจุดปลอดภัย ส่งนักเรียนถึงผู้ปกครอง เตรียม
                                       อพยพ)
                                     - การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (ชุดปฐมพยาบาบาล ยาสามัญ)

                                     - การเตรียมความพร้อม (เก็บน้ าสะอาด ส ารองอาหาร เก็บรักษาอุปกณ์การเรียน)
                                     - ศูนย์พักพิงชั่วคราวในโรงเรียน
                                     - แผนการศึกษาต่อเนื่อง (การสอบชดเชย การเรียนออนไลน์แทน สถานที่เรียน
                                       ชั่วคราว)

                                     - การคุ้มครองเด็ก (การฟื้นฟูจิตใจเด็ก ค านึงถึงความต้องการพิเศษ สิทธิเด็ก)
                                     - การติดตามและประเมินผลการด าเนินงาน
                              เสาหลักที่ 3 : การศึกษาด้านการลดความเสี่ยงและการรู้รับปรับตัวจากสาธารณภัย (Risk

               Reduction and Resilience Education)
                              ผู้มีบทบาทหลัก : ผู้จัดท าหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ผู้
               อบรมครู ครู กลุ่มเยาวชน ผู้น าในการจัดกิจกรรมเยาวชน และนักเรียน ที่จะร่วมมือโดยการพัฒนาศักยภาพครู
               และบุคลากรในโรงเรียน แนะน าและบูรณาการในหลักสูตรการเรียนการสอนปกติ พร้อมทั้งวางแผนส าหรับเด็ก
               ที่มีความต้องการพิเศษเพื่อพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับวัฒนธรรมแห่งความปลอดภัยและมี

               ความสามารถในการรู้รับปรับตัวและพื้นคืนกลับจากสาธารณภัย
                      4.3 ระดับชุมชน การเตรียมความพร้อมรับสาธารณภัยระดับชุมชน หรือการเตรียมชุมชนพร้อมรับสา
               ธารณภัย เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมวางแผน

               ร่วมตัดสินใจ และร่วม ด าเนินการ โดยเริ่มต้นจากการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยของชุมชนโดยใช้
               เครื่องมือต่างๆในการประเมิน ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประเมินนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดท าแผนชุมชนพร้อมรับ
               สาธารณภัย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย, 2560) การลดความเสี่ยงภัยในระดับ
               ชุมชนสามารถด าเนินการได้ ดังนี้
                             4.3.1 การป้องกันและลดผลกระทบ การประเมินความเสี่ยงภัยในชุมชนอาจท าให้พบว่ายังมี

               โครงสร้างทางสังคมและ เศรษฐกิจบางอย่างที่อยู่ในพื้นที่ล่อแหลมและมีความเปราะบางส่งผลกระทบทางลบ
               ให้แก่ชุมชนโดยรวมหรือกลุ่มคนบางกลุ่มได้หากเกิดสาธารณภัยหรืออาจท าให้พบว่า มีพื้นที่หรือสิ่งก่อสร้างบาง







                                                                                                       65
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70