Page 60 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 60
6) เพื่อใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงมาตรการเพื่อการบริหารจัดการและลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย
ดีขึ้น
3.2 กระบวนการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย
การประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย จ าเป็นต้องใช้ข้อมูลจ านวนมาก เช่น ประวัติการเกิดภัย สถิติ
ภัย ข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา ด้านภูมิศาสตร์ ด้านอุทกศาสตร์ สารสนเทศ ภูมิศาสตร์ ภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูล
ทางกายภาพของพื้นที่ การส ารวจพื้นที่การสนทนากลุ่ม ซึ่งควรได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุก
ภาคส่วน ได้แก่ นักวิชาการ องค์กร หน่วยงานราชการ และประชาชนในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะเมื่อบาง
ข้อมูลอาจไม่ครบถ้วน อาจต้องใช้ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญประกอบ สามารถท าได้ในทุกระดับทั้งในระดับชาติ
ระดับภูมิภาค จังหวัด เทศบาลหรือชุมชน โดยค านึงถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ภาวะปัจจุบัน และการคาดการณ์
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย
ขั้นที่ 1 การท าความเข้าใจเหตุการณ์ปัจจุบัน ความต้องการประเมินความเสี่ยง และพิจารณาข้อมูลที่เคย
วิเคราะห์
ศึกษาข้อมูลจากรายงานการประเมินความเสี่ยงที่เคยมีการท ามาก่อนแล้ว
ทบทวนข้อมูลต่าง ๆ และกรอบการท างานรวมทั้งศักยภาพทึ่มีอยู่ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
วางแนวทางในการเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจมีอยู่แล้วให้สมบูรณ์และ เป็นปัจจุบันมาก
ขึ้น
ก าหนดบริบทความต้องการในการประเมินความเสี่ยงพิจารณาขอบเขตและรายละเอียดของการ
ประเมินฯ
ขั้นที่ 2 การประเมินภัย
ระบุลักษณะของภัยรวมทั้งแหล่งก าเนิดความรุนแรงและความเป็นไปได้ในการเกิดภัยขนาดใหญ่ ๆ
ในชุมชนหรือสังคมเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงลักษณะทางธรรมชาติของภัยและอุปสรรคต่างๆในการจัดการกับ
ภัยนั้นๆ
ประเมินปัจจัยแวดล้อมปัจจุบันตลอดจนคาดการณ์อนาคตที่ปัจจัยแวดล้อมอาจเปลี่ยนแปลงได้
ประมวลผลการประเมินภัยว่าพื้นที่ใดเสี่ยงประสบภัยใด มากน้อยขนาดไหน และมีความรุนแรงเช่นไร
จัดท าแผนที่ภัย (hazard map)
ขั้นที่ 3 การประเมินความล่อแหลม
ระบุจ านวนประชากรพิกัดสถานที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนระบบ สาธารณูปโภค
พื้นฐานรวมถึงสิ่งส าคัญต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
เก็บข้อมูลจากการส ารวจในพื้นที่จริงหรือจากข้อมูลทุติยภูมิ เช่น ข้อมูลส ามโนประชากร ฯลฯ
ปัญหาหลักของขั้นตอนนี้คือ ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูลท าให้ในบางครั้งก็มี
ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะน าไปวิเคราะห์และ ในบางครั้งก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามีข้อมูลอะไร และ
อยู่ที่ใดเนื่องจาก ข้อมูลเหล่านั้นอาจเป็นความลับหรือไม่สามารถเปิดเผยได้
ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ความเปราะบางและศักยภาพ
60