Page 61 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 61

 วิเคราะห์ความเปราะบางรวมทั้งศักยภาพของชุมชนหรือสังคมที่มีต่อภัยประเภทต่างๆ โดย
                วิเคราะห์ความเปราะบาง/ศักยภาพทางสังคมทางโครงสร้างทางกายภาพทางเศรษฐกิจและทางสิ่งแวดล้อม

                เป็นต้น
                         ท าความเข้าใจถึงต้นตอของปัญหาและเหตุผลว่าท าไมชุมชนมีโอกาสได้รับความเสียหาย
                       ขั้นที่ 5 การคาดการณ์ผลกระทบและวิเคราะห์ระดับความเสี่ยง

                         น าเอาผลการประเมินภัย ความล่อแหลม และความเปราะบางมาวิเคราะห์ร่วมกัน
                         ประเมินภาพรวมของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนและสังคมจากการเกิดภัย
                         จัดล าดับความเสี่ยงภัยของพื้นที่ต่าง ๆ  และจัดท าแผนที่เสี่ยง (risk map)
                       ขั้นที่ 6 การจัดท าข้อมูลความเสี่ยงและแนวทางในการจัดการและลดความเสี่ยง

                         สังเคราะห์ผลของการประเมินความเสี่ยง
                         ระบุแนวทางและทางเลือกต่าง ๆ ในการจัดการและลดความสี่ยงจากสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ
                โดยให้ความส าคัญเรื่องเศรษฐกิจและสังคมที่ส าคัญ
                        ขั้นที่ 7 การพัฒนาหรือปรับปรุงยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

                         จัดล าดับความส าคัญของแนวทางและทางเลือกในการจัดการและลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย
                         ให้ความส าคัญกับพื้นที่เสี่ยงและมีโอกาสได้รับผลกระทบที่รุนแรงก่อนพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ ากว่า
                         วางแผนในการจัดสรรทรัพยากรทั้งทรัพยากรทางการเงินและทรัพยากรมนุษย์ในการเริ่มด าเนิน
                         โครงการเพื่อลดความเสี่ยงภัยในพื้นที่ที่จ าเป็นและมีโอกาสบรรลุเป้าหมายในการลดปัจจัยเสี่ยง


                      3.3 การประเมินความเสี่ยงภัยในแต่ละระดับ ความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ในแต่ละห้วงเวลามีความ
               แตกต่างกันตามลักษณะจ าเพาะของทุกพื้นที่ทุกภาคส่วนในสังคมสามารถมีส่วนในการประเมิน ความเสี่ยงจาก

               สาธารณภัยในพื้นที่ของตนได้ตั้งแต่ในระดับครอบครัวและปัจเจกบุคคลตลอดจนระดับชุมชนขึ้นไปจนถึง
               ระดับประเทศหรือในระดับภูมิภาค
                        ระดับครอบครัวและปัจเจกบุคคล

                         วิเคราะห์ว่าในครอบครัวของตนมีโอกาสประสบกับภัยประเภทใดบ้าง
                         พื้นที่ที่บ้านตนตั้งอยู่นั้นมีความเสี่ยงกับภัยอะไรหรือไม่อย่างไร บ้านตั้งอยู่ใกล้แม่น้ าหรือไม่บ้าน
               ตั้งอยู่ในเขตแผ่นดินไหวหรือไม่ บ้านตั้งอยู่ริมชายฝั่งที่อาจเกิดคลื่นสึนามิ หรือพายุไต้ฝุ่นหรือไม่
                         วิเคราะห์ครอบครัวเกี่ยวกับความเปราะบางและศักยภาพทางกายภาพทางสังคมและทางเศรษฐกิจ
                         พิจารณาว่าบ้านถูกปลูกสร้างด้วยวัสดุที่คงทนต่อภัยหรือไม่ เมื่อเกิดภัยแล้วทรัพย์สินใดที่เป็นอันตราย

                         สมาชิกในครอบครัวรู้แล้วหรือไม่ว่าควรต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ต้องอพยพหรือไม่ แล้วอพยพไปที่ใด
                         หากสมาชิกในบ้านไม่ได้อยู่ด้วยกันทราบแล้วหรือไม่ว่าจะนัดพบกันที่ไหน การติดต่อกันในภาวะฉุกเฉิน
                         หากมีผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในบ้าน ควรจะท าอย่างไรเมื่อเกิดสาธารณภัย

                        ระดับชุมชน
                         ให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็นและร่วมวิเคราะห์ภัยต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น
                         พิจารณาผลกระทบที่เคยได้รับจากภัยเหล่านั้น อาจพิจารณาจากข้อมูลสถิติภัยที่เคยเกิดขึ้น
                         แลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าพื้นที่ในชุมชนที่ประสบภัยเป็นประจ าอยู่บริเวณใด และเสียหายด้านใดบ้าง








                                                                                                       61
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66