Page 66 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 66

แห่งในชุมชนซึ่งอาจพังทลายหรือไม่อาจต้านทานภัยที่เกิดขึ้นได้ และจะท าให้เกิดอันตรายแก่คนในวงกว้าง
               ดังนั้นชุมชนและรัฐควรช่วยกันหาวิธีในการลดความล่อแหลมและลดความเปราะบางของโครงสร้าง


                             แนวทางปฏิบัติที่ใช้โครงสร้างทางกายภาพ
                               การก่อสร้างอาคาร การสร้างเส้นทางคมนาคม ถนน และสะพานที่ได้มาตรฐานที่ทนต่อ

               แผ่นดินไหวและสภาพอากาศที่รุนแรงจะช่วยลดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินหากเกิดภัยขึ้นได้
                               การเสริมสร้างความแข็งแรงของตลิ่ง รวมถึงการปลูกต้นไม้และพุ่มไม้ เพื่อป้องกันชุมชน
               ริมน้ าหรือริมทะเลจากผลกระทบโดยตรงจากอุทกภัยและสภาพอากาศที่รุนแรงเพื่อไม่ให้น้ าจากแม่น้ าหรือ
               ทะเลไหลเข้าท่วมชุมชนเป็นการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากภัย

                               การก่อสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ า หรือแก้มลิงเพื่อกักเก็บน้ า ระบบผันน้ า ฝายทดน้ า ฯลฯ เพื่อ
               กักเก็บน้ าเมื่อมีปริมาณน้ าจากฝนเป็นจ านวนมาก และช่วยไม่ให้น้ าไหลผ่านอย่างรวดเร็วจนเกิดไปท าให้ไม่ให้
               เกิดอุทกภัยในพื้นที่ใกล้เคียงหรือพื้นที่ในบริเวณกว้าง และขณะเดียวกันก็สามารถน าน้ าที่กักเก็บไว้ไปใช้ใน
               ชุมชนเมื่อเกิดภัยแล้ง

                               การสร้างพนังกันน้ าริมแม่น้ าเพื่อป้องกันอุทกภัยจากน้ าท่วมตลิ่งเพื่อช่วยลดผลกระทบหาก
               ปริมาณน้ าจากแม่น้ ามีระดับสูงขึ้น ซึ่งอาจท าให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมตลิ่งได้รับความเสียหาย
                               การเสริมสร้างความแข็มแรงของพื้นที่เชิงเขา เมื่อเกิดฝนตกน้ าจะไม่ซัดหน้าดินจนท าให้เกิด
               ดินถล่มและส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เชิงเขา

                               การขยายพื้นที่เส้นทางการไหลของน้ า การสร้างทางและระบบระบายน้ าเพื่อเป็นการช่วย
               ระบายน้ าหากมีปริมาณน้ าไหลผ่านเป็นจ านวนมากเป็นการช่วยป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก
               อุทกภัย

                              แนวทางปฏิบัติที่ไม่ใช้โครงสร้าง
                               การจัดตั้งหน่วยงานหรือออกกฎหมายเพื่อสนับสนุนให้เกิดการก่อสร้างโครงสร้างอย่างมี
               ประสิทธิภาพ
                               การฝึกอบรมให้ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ในเรื่องโครงสร้างหรือการอบรมฝึกฝนทักษะของ
               ผู้เกี่ยวข้องให้สามารถออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างเหล่านี้ได้อย่างถูกต้องและได้มาตรฐานรวมถึงการ

               ออกแบบโครงสร้างให้เหมาะสมกับสภาพภัยที่อาจจะต้องเผชิญการด าเนินการป้องกันและลดผลกระทบโดยไม่
               ใช้โครงสร้างเพื่อลดความล่อแหลม
                               การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินจะท าให้ประชาชนได้เข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน

               และเป็นการสร้างความตระหนักให้ประชาชนเข้าใจว่าพื้นที่ใดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง
                               การจัดผังเมือง ผังชุมชน หรือหมู่บ้านไม่ให้มีความหนาแน่นจนเกินไปเพราะอาจได้รับ
               อันตรายเมื่อเกิดภัยวางสัดส่วนของการพัฒนาเมืองให้มีการกระจายตัว ของประชากรและลดโอกาสที่ประชากร
               บางส่วนต้องสร้างบ้านอยู่ในพื้นที่ล่อแหลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรที่ยากจน
                               การออกกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินการวางผังเมือง และการบังคับใช้กฎหมาย

               ดังกล่าวเพื่อก าหนดเขตพื้นที่ในการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ทั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอาคารพาณิชย์ หรือ
               โครงสร้างสาธารณูปโภคที่ส าคัญ เช่น ถนน สะพาน ระบบการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ เพื่อไม่ให้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มี
               โอกาสเกิดภัย




               66
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71