Page 67 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 67

 การออกกฎหมายต้องมีการบังคับใช้อย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกันประชาชนต้องมีความ
               เข้าใจและเคารพกฎหมาย ควรมีมาตรการเพื่อจูงใจให้ประชาชนไม่สร้างที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่เกิดภัย เช่น การ

               สร้างบ้านในพื้นที่ทางน้ าไหล หากไม่มีโทษปรับก็ควรก าหนดว่าจะไม่ได้รับการเยียวยา ซ่อมแซม หากได้รับ
               ผลกระทบในระดับปัจเจกบุคคลหรือครัวเรือนก็สามารถด าเนินการเพื่อป้องกันและลดผลกระทบของภัยที่อาจ
               เกิดขึ้นกับตัวเองและครอบครัวได้

                               หากครัวเรือนของท่านมีความเสี่ยงต่ออุทกภัยและได้พิจารณาถึงความล่อแหลม และความ
               เปราะบางแล้วว่ามีโอกาสได้รับผลกระทบจากอุทกภัยมากท่านก็สามารถวางแผนในการย้ายที่อยู่อาศัย
                             หากจ าเป็นต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่เดิม ก็อาจจะลดความเสี่ยงของตนได้จากการปรับปรุงอาคาร
               ให้มีความแข็งแรงทนทานมากขึ้นอาจจะยกพื้นที่สูงขึ้นและเตรียมเส้นทางน้ าไหลผ่าน ตลอดจนระบบการ

               ระบายน้ าภายในให้ดีขึ้น
                            4.3.2 การเตรียมความพร้อม เป็นกิจกรรมที่ด าเนินการก่อนการเกิดสาธารณภัย มุ่งเน้นเพื่อลด
               ความเปราะบางและเพิ่มศักยภาพบุคคล ชุมชน และสังคมในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินให้สามารถรับมือ
               กับสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองและสังคมได้ ทั้งยังรวมถึง

               กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวให้เข้ากับภัยได้ในระยะยาวอีกด้วย
                             การพัฒนาศักยภาพและให้ความรู้เรื่องภัยประเภทต่าง ๆ ว่ามีลักษณะการเกิดอย่างไรและมี
               การรับมือไม่ให้เราได้รับอันตรายได้อย่างไร
                             การพัฒนาระบบการพยากรณ์และการแจ้งเตือนภัยตั้งแต่ระดับประเทศ ถึงระดับท้องถิ่น

                             การพัฒนาศักยภาพของระบบการสื่อสารการพัฒนาเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและเครือข่าย
               สังคมออนไลน์ (social network) ท าให้การแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าหรือการประสานงานตามแผนฉุกเฉินท าได้
               อย่างคล่องตัว รวดเร็ว การใช้ภาพถ่าย ดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อการพยากรณ์อากาศได้อย่างถูกต้อง

               แม่นย า
                             การจัดท าแผนเตรียมรับมือกับสาธารณภัยในทุกระดับ โดยชุมชนมีส่วนร่วมจะช่วยท าให้
               ชุมชนและสังคมมีความเตรียมพร้อมรู้บทบาทและหน้าที่ว่าตนต้องท า
                             การฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกระดับ จะช่วยท าให้เข้าใจว่าแผนที่จัดท าขึ้นนั้น
               ปฏิบัติได้จริงหรือไม่ ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงอะไรบ้างเป็น การเตือนความทรงจ าของผู้มีส่วนร่วมในแผน

                             การเตรียมปัจจัยสี่เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสามารถน าปัจจัยสี่ออกมาให้ความช่วยเหลือ
               ผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดสภาวะฉุกเฉินจะช่วยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยมีชีวิต
               อยู่ได้ตามปกติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เป็นการลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเกิดภัย

                             การเตรียมสนับสนุนด้านทรัพยากรและพลังงานจะช่วยให้การน าแนวทางปฏิบัติเรื่องการลด
               ความเสี่ยงจากสาธารณภัยไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                             การเตรียมพื้นที่ปลอดภัยส าหรับอพยพชาวบ้านเมื่อเกิดภัยเพื่อให้ประชาชนสามารถมีชีวิต
               รอดเมื่อต้องอพยพออกจากบ้านของตนที่ได้รับผลกระทบจากภัย
                             กิจกรรมสร้างความตระหนักของชุมชนและสังคมให้มีแผนเตรียมความพร้อมครอบครัวและชุมชน

                             การสร้างเครือข่ายกลุ่มศักยภาพ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะให้ความรู้เรื่องการท าแผน
               เตรียมพร้อมและให้ความช่วยเหลือได้เมื่อเกิดภัยเป็นการพัฒนาศักยภาพให้น าความรู้ไปใช้และถ่ายทอดให้คน
               ในชุมชนเข้าใจ





                                                                                                       67
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72