Page 59 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 59

สาธารณภัยแต่ละระดับ และประชาชน เพื่อให้เตรียมความพร้อมโดยแจ้งเตือนภัย ไม่ต่ ากว่า 72 ชั่วโมงก่อน
               เกิดภัย

                                     3.2.4) การรับมือและการอพยพ กองอ านวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแต่
               ละระดับพิจารณา ก าหนดแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติส าหรับส่วนราชการ หน่วยงาน และองค์กรเอกชนใน
               การรับมือกับสาธารณภัย ที่เกิดขึ้น รวมถึงการจัดท าแผนอพยพและการฝึกอพยพ

                              3.3) การพัฒนาระบบเตือนภัย เพื่อท าให้การเตือนภัยแม่นย าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                           กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนและทุกระดับสร้างแนวปฏิบัติในการลดความเสี่ยง
                           เป็นการท าให้ทุกภาคส่วนยอมรับที่จะร่วมมือกันด าเนินกิจกรรมลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย โดย
               ให้สังคมและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม น าเรื่องการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยเข้าสู่กระแสหลักในการพัฒนา

               อย่างยั่งยืนของประเทศ รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน สังคม และประเทศต่อไป ทั้งนี้รัฐจะต้อง
               ก าหนดนโยบาย วางแผน จัดสรรงบประมาณให้การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยเป็นนโยบายส าคัญ (กรม
               ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย, 2559)



               3. การประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย
                      การประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย เป็นกระบวนการตรวจสอบระดับความเสี่ยงที่ชุมชนหรือสังคม
               มีต่อสาธารณภัย โดยการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในด้านภัย ความล่อแหลม และความเปราะบาง ที่จะก่อให้เกิด
               อันตรายต่อมนุษย์ ทรัพย์สิน การบริการ การด ารงชีพ สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ การประเมินความเสี่ยงโดย
               ละเอียดไม่ได้เพียงแต่ประเมินความรุนแรงและความเป็นไปได้ของความสูญเสีย แต่ต้องระบุสาเหตุและ

               ผลกระทบของความสูญเสียของพื้นที่นั้นๆ ในแต่ละภัย การประเมินความเสี่ยงจึงเป็นเครื่องมือในการ
               กระบวนการตัดสินใจทางนโยบายที่ส าคัญในการจัดการสาธารณภัยท าให้ทราบว่าควรจะวางแนวทางในการ
               จัดการความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างไร
                      ทั้งนี้การประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยไม่ได้เป็นกระบวนการที่สิ้นสุดเพียงครั้งเดียว เนื่องจาก

               ความเสี่ยงที่เปลี่ยนไปตามปัจจัยความเสี่ยงที่มีเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามกาลเวลา ท าให้การประเมินความเสี่ยงควร
               เกิดขึ้นแบบพลวัต เพื่อให้ผลของการประเมินความเสี่ยงนั้นสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด
               นอกจากนี้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงจ าเป็นต้องใช้เงินลงทุนและทรัพยากรที่ชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ มีอยู่

               อย่างจ ากัด ผลการประเมินความเสี่ยงจะช่วยในการพิจารณาว่าควรจัดสรรทรัพยากรอย่างไร ความเสี่ยงบาง
               ประเภทอาจขจัดหรือท าให้น้อยลดลง ในขณะที่ความเสี่ยงบางประเภทอาจจะอยู่ในระดับที่สังคมยอมรับได้โดย
               ไม่ต้องท าอะไรเพิ่มเติม

                      3.1 วัตถุประสงค์ของการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย  คือ

                      1) เพื่อระบุถึงภัย ความล่อแหลม ความเปราะบาง และความสามารถที่เป็นไปได้ส าหรับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
                      2) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการเกิดภัยและคาดการณ์ถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
                      3) เพื่อใช้ในการวางแผนในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุด
                      4) เพื่อใช้ในการระบุถึงจุดอ่อนและช่องว่างในแผนงาน พัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้น
                      5) เพื่อให้ค าแนะน าที่สามารถน าไปปฏิบัติได้จริง และลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่เหมาะสม








                                                                                                       59
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64