Page 52 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 52
เสียหายอันเกิดจากภัย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีอยู่ในชุมชนหรือสังคมมานานก่อนเกิดสาธารณภัยและอาจเป็นปัจจัยที่
ท าให้ผลกระทบของภัยมีความรุนแรงมากขึ้น แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความเปราะบางทางกายภาพ ความ
เปราะบางเชิงสังคม และโครงสร้างทางสังคม และความเปราะบางทางทัศนคติและแรงจูงใจ
- ศักยภาพ (capacity) คือ ความรู้ ความช านาญ หรือทรัพยากรต่าง ๆ ที่อยู่ในความครอบครองของ
ประชาชน ชุมชน หรือสังคมหนึ่ง ๆ ซึ่งมีคุณลักษณะเชิงบวกสามารถพัฒนา เคลื่อนย้าย และเข้าถึงเพื่อน ามาใช้
เพิ่มขีดความสามารถ (capability) ของสังคมและชุมชนในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
- กลุ่มเปราะบาง (vulnerable group) หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความสามารถจ ากัดในการเผชิญ
เหตุการณ์สาธารณภัยซึ่งต้องการความดูแลเป็นพิเศษ เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ บุคคลทุพพลภาพ ผู้ป่วย
ผู้ลี้ภัย ต่างด้าว
- กลุ่มศักยภาพ (capacity group) หมายถึง กลุ่มคนที่มีความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ที่
เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่มีทักษะและความรู้ที่จะตั้งรับและเตรียมพร้อมต่อสถานการณ์
- การรู้รับ ปรับตัว และฟื้นคืนกลับ, รีซิเลียนส์ (resilience) หมายถึง ความสามารถของระบบชุมชน
หรือสังคมที่มีความเสี่ยงต่อภัยในการเรียนรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงภัยของตน รู้จักเตรียมการปฏิบัติตัวเพื่อช่วยลด
ความเสี่ยง ลดโอกาสในการได้รับผลกระทบจากภัย และเมื่อประสบกับภัยก็สามารถฟื้นตัวได้ในระยะเวลาที่
เหมาะสม
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงภัยสามารถแทนด้วยสมการแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้
ความเสี่ยงจากสาธารณภัย = ภัย (Hazard) x ความล่อแหลม (Exposure) x ความเปราะบาง(Vulnerability)
(Disaster Risk ) ศักยภาพ (Capacity)
1.2 การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย (Disaster Risk Reduction: DRR) เป็นแนวคิดและวิธีปฏิบัติใน
การ ลดโอกาสที่จะได้รับผลกระทบทางลบจากสาธารณภัยผ่านการวิเคราะห์และเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับ
สาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการเชิงรุกในการประเมินปัจจัยที่ท าให้เกิดความเสี่ยง และจัดการ
ปัจจัยต้นเหตุเหล่านั้นก่อนเกิดภัย เช่น การลดความล่อแหลม ลดปัจจัยที่ท าให้เกิดความเปราะบาง และเพิ่ม
ศักยภาพในการจัดการปัญหารวมถึงการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อลดผลกระทบทางลบจาก
สาธารณภัย
2. หลักการและกรอบแนวคิดในการลดความเสี่ยงสาธารณภัย
2.1 กรอบความร่วมมือของโลกในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย
2.1.1 กรอบการด าเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย พ.ศ. 2558-2573
หรือ “กรอบเซนได” (Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2 0 1 5 -2030: The Sendai
Framework) คือ กรอบการบริหารจัดการความเสี่ยง ให้การรับรอง ณ เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ.
2558 โดยยกให้เป็นพิมพ์เขียวของโลกในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย มีระยะเวลาด าเนินงาน 15 ปี
มุ่งเน้นในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย คือ การลดความเสี่ยงที่มีอยู่เดิม และป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง
ใหม่ เน้นมาตรการและวิธีการที่หลากหลายในการป้องกันและลดความล่อแหลม ลดความเปราะบางและเพิ่ม
52