Page 47 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 47
4.2 ยุทธศาสตร์การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
พ.ศ. 2558
ปัจจุบันแนวโน้มการเกิดสาธารณภัยในประเทศไทยมีความถี่ ความรุนแรงและซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น
อีกทั้งทั่วโลกยอมรับว่าสาธารณภัยเป็นเรื่องที่จัดการได้โดยไม่จ าเป็นต้องรอให้เกิดภัยขึ้นก่อน ดังนั้นจากแนวคิด
ในอดีตที่มุ่งเน้น“การจัดการสาธารณภัย (Disaster management)” เมื่อภัยเกิดขึ้นแล้วโดยการจัดการใน
ภาวะฉุกเฉิน การให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยและฟื้นฟูหลังจากสาธารณภัยสงบ เปลี่ยนเป็น
การด าเนินการอย่างยั่งยืนให้ความส าคัญกับ “การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย (Disaster Risk
Management)” ประกอบด้วย การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย ได้แก่ การประเมินความเสี่ยง การป้องกัน
การลดผลกระทบและการเตรียมความพร้อมซึ่งอยู่ในระยะก่อนเกิดสาธารณภัย รวมถึงการจัดการในภาวะ
ฉุกเฉิน ได้แก่ การเผชิญเหตุและการบรรเทาทุกข์ ซึ่งอยู่ในระยะเกิดสาธารณภัย และการฟื้นฟู ได้แก่ การฟื้นฟู
สภาพ การซ่อมสร้าง การสร้างให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าก่อนเกิดภัย ซึ่งอยู่ในระยะหลังเกิดสาธารณภัย
ยุทธศาสตร์การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มี
4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการการจัดการในภาวะฉุกเฉิน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
4.3 แผนสาธารณภัยของสภากาชาดไทย
สภากาชาดไทยเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่มีหน้าที่ให้การสงเคราะห์แก่ผู้ประสบสาธารณภัยโดยไม่
เลือกเชื้อชาติ สัญชาติ ลัทธิศาสนา หรือความเห็นในทางการเมืองของผู้ประสบภัย โดยสภากาชาดไทย มี
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ในแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553-2557
ดังนี้ (คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ, 2552 : 97)
- จัดหา เตรียมโลหิต ยา เวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อใช้
ในการบรรเทาทุกข์ การสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
- ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ สมาชิกสภากาชาดไทย อาสากาชาด เหล่ากาชาดจังหวัด และ
ประชาชน เพื่อเตรียมพร้อมรับสาธารณภัยการปฐมพยาบาล และให้ความรู้เกี่ยวกับการสาธารณสุข เพื่อให้
สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้เมื่อประสบภัย
- ให้การบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยขณะเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุด้วยบริการทางการแพทย์ ทั้ง
การรักษาพยาบาลและการป้องกันโรค และสงเคราะห์เครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดจนอุปกรณ์และบริการอื่นๆที่
จ าเป็นของผู้ประสบภัย
- ติดต่อประสานความร่วมมือกับสภากาชาดประเทศต่างๆ โดยผ่านคณะกรรมการกาชาด
ระหว่างประเทศ และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ
47