Page 45 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 45

ร่วมและการแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างประเทศ ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เป็นการป้องกันผลกระทบที่
               รุนแรงต่อการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน


                      3.3  กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการสาธารณภัยและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน
                           กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการสาธารณภัยและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน
               (ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response: AADMER)  วัตถุประสงค์
               คือการจัดให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพที่สามารถลดความเสียหายจากสาธารณภัยต่อชีวิต และต่อทรัพย์สินของ

               สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกอาเซียน และเพื่อร่วมกันตอบโต้สาธารณภัยฉุกเฉิน โดย
               การร่วมมือกันระดับชาติและขยายความร่วมมือระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศโดยการด าเนินการ
               ภายในกรอบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                           สาระส าคัญของ AADMER คือการก าหนดกรอบความร่วมมือด้านการจัดการสาธารณภัยของ
               อาเซียนในลักษณะ ครบวงจรของการบริหารจัดการสาธารณภัย กล่าวคือ ครอบคลุมทั้งในยามปกติ ก่อนเกิด
               ภัย (การก าหนดความเสี่ยงจากสาธารณภัย การเฝ้าระวัง การแจ้งเตือนภัย การป้องกัน การเตรียมความพร้อม)
               ในขณะเกิดภัย (การตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน การบรรเทาทุกข์) ภายหลังเกิดภัย (การฟื้นฟู) ตลอดจนความ

               ร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถ เป็นต้น ทั้งนี้
               โดยเน้นหลักการที่ให้แต่ละประเทศสมาชิกได้ช่วยเหลือตนเองให้เต็มที่ก่อนและหากว่าเกินขีดความสามารถก็จึง
               ใช้กลไกที่ก าหนดไว้ใน AADMER ในการช่วยเหลือ
                           นอกจากนี้ในกรอบ AADMER ยังก าหนดระบบเตรียมพร้อมเพื่อบรรเทาสาธารณภัยและตอบโต้

               สถานการณ์ฉุกเฉินของอาเซียนไว้เป็นอีกหนึ่งกลไก ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเกี่ยวกับการจัดท าระบบ
               เตรียมความพร้อม โดยการรวบรวมรายการทรัพย์สิน เครื่องมือ ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในด้านการจัดการ
               สาธารณภัยของประเทศสมาชิกอาเซียน และจัดท าเป็นบัญชีรวมไว้ที่ศูนย์ประสานงานการให้ความช่วยเหลือ
               ด้านมนุษยธรรมของอาเซียน (Asean Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on Disaster

               Management : AHA Centre) เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น บัญชีที่จัดท าไว้นี้จะช่วยให้ประหยัดเวลาในการค้นหา
               ข้อมูลที่จ าเป็นส าหรับการขอรับและการให้ความช่วยเหลือกันและกันของอาเซียน ส่วนที่สองเป็นคู่มือเรียกว่า
               “มาตรฐานวิธีปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมและประสานงานในการปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในการบรรเทา

               สาธารณภัยและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (Standard Operating Procedures for Regional Standby
               Arrangements and Coordination of Joint Disaster Relief and Emergency Response Operations :
               SASOP) เป็นขั้นตอนปฏิบัติว่าจะต้องเริ่มท าอะไรก่อนและหลัง ตัวอย่างเช่น เมื่อมีสาธารณภัยเกิดขึ้นใน
               ประเทศพม่า SASOP จะก าหนดให้แจ้งข้อมูลไปยังศูนย์ปฏิบัติการของ AHA Centre ภายในระยะเวลา 3
               ชั่วโมงหลังจากเกิดเหตุเมื่อ AHA Centre ได้รับรายงานแล้วก็จะต้องแจ้งต่อไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ

               โดยเร็วที่สุด และต้องประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ในการให้ความช่วยเหลือพม่า เป็นต้น โดยขั้นตอนการปฏิบัติ
               เหล่านี้อยู่ภายใต้กรอบ AADMER
                      3.4 ปฏิญญากรุงเทพว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยของเอเชียและแปซิฟิก

                          ปฏิญญานี้จัดท าขึ้นโดยตระหนักถึงการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลางเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของ
               ชุมชนท้องถิ่นต่อสาธารณภัยตามแนวพระราชด าริเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงาน
               เครือข่ายร่วมกันด าเนินการในประเด็นที่ส าคัญ คือ






                                                                                                       45
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50