Page 40 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 40
ตามที่ได้ตกลงกันไว้
- การเตือนภัยจะต้องเข้าใจง่ายและใช้ภาษาท้องถิ่น โดยวิธีเตือนต้องตกลงกันไว้ก่อนว่า
จะเตือนโดยวิธีใดซึ่งอาจใช้ได้หลายวิธี เช่น ไซเรนมือหมุน การตีเกราะไม้ การตีกลอง
เพล จุดพลุ เป่านกหวีด และธงผ้าสีต่างๆ เป็นต้น
2.2 ระยะเกิดสาธารณภัย (Impact phase)
เป็นการจัดการเพื่อตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉิน การจัดการนี้เป็นการจัดการในระยะเกิดสา
ธารณภัยจนถึงหลังเกิดภัย 3 วัน ผู้มีบทบาทส าคัญอันดับแรกในการจัดการระยะนี้ คือ ตัวผู้ประสบภัย
ครอบครัว และชุมชนที่เกิดสาธารณภัยเอง เนื่องจากการช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกต้องใช้เวลาระยะ
หนึ่งจึงจะมาถึงได้ ดังนั้นการช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นจึงจ าเป็น การจัดการสาธารณภัยในระยะนี้ ส าหรับ
ผู้ปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย เป็นการปฏิบัติเพื่อลดความรุนแรงของสาธารณภัย รวมทั้งรักษา
ขวัญ ก าลังใจ และสร้างความมั่นใจทั้งของประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน โดยใช้หลักการรักษาชีวิตและทรัพย์สิน
ของประชาชนเป็นความส าคัญล าดับแรก
การจัดการในระยะเกิดภัยนี้มีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องมีเอกภาพ
ในการปฏิบัติงาน โดยต้องก าหนดโครงสร้างขององค์กร มีการก าหนดล าดับการบังคับบัญชา การประสานงาน
การส่งต่อภารกิจ การแบ่งความรับผิดชอบต่อสถานการณ์ที่ชัดเจนเพื่อเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วม
ปฏิบัติการจะสามารถปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกันอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โครงสร้างขององค์กรใน
การจัดการเพื่อตอบสนองสถานการณ์ ควรต้องมีความยืดหยุ่นปรับใช้ได้กับเหตุการณ์ฉุกเฉินทุกประเภท ทุก
ขนาด กิจกรรมการตอบสนอง/การเผชิญเหตุฉุกเฉินที่ส าคัญมีดังนี้
2.2.1 การจัดตั้งศูนย์อ านวยการ/ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการสื่อสาร ระดม
ทรัพยากร ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อจัดการกับสาธารณภัยที่เกิดขึ้นอย่างครอบคลุมเป็น
เอกภาพ รวดเร็ว โดยทั่วไปควรประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ คือ ฝ่ายอ านวยการ ฝ่ายแจ้งเตือนภัย ฝ่ายป้องกันและ
ปฏิบัติการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสาร ฝ่ายรับบริจาค ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยและฝ่ายฟื้นฟูบูรณะ
2.2.2 การควบคุมภัย เป็นการระงับให้ภัยคงอยู่เท่าเดิม หรือลดการท าลายไม่ให้ภัยนั้นขยาย
ออกไป วิธีการหรือแนวทางในการควบคุมภัยที่ส าคัญ คือ
2.2.2.1 การประเมินภัย เป็นกิจกรรมที่จ าเป็นซึ่งต้องกระท าอย่างรีบด่วนโดยการประเมิน
ความเสียหายในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกด้าน ทั้งผู้ประสบภัย ผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต ผู้สูญหาย ความเสียหายที่เกิด
กับบ้านเรือน แหล่งอาชีพ โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งสาธารณประโยชน์ต่างๆ และประเมินความต้องการเบื้องต้น
ของผู้ประสบภัยในด้านปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร น้ า ยา เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภค บริโภค ที่พักอาศัย และอื่นๆ
เพื่อช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน การประเมินภัยนี้เพื่อจะทราบถึงขนาดของภัยว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด
ส าหรับข้อมูลที่ใช้อาจได้มาจากการส ารวจทางอากาศ การส ารวจโดยหน่วยควบคุมภัย หรือจากการรายงาน
ขององค์กรต่างๆ ที่อยู่ในที่เกิดภัยหรือบริเวณใกล้เคียง
2.2.2.2 การใช้แผนสาธารณภัย ทันทีที่เกิดสาธารณภัยขึ้นและมีความรุนแรงตั้งแต่ขนาด
กลาง ซึ่งผู้ประสบภัยไม่สามารถระงับได้ด้วยตนเองแล้วต้องมีการแจ้งภัยเพื่อให้ผู้มีหน้าที่ต่างๆ ตามที่ก าหนดไว้
ในแผนเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสม เพื่อให้ภัยนั้นสงบลงโดยเร็ว สูญเสียทรัพย์สินน้อยที่สุด
ผู้ประสบภัยได้รับความปลอดภัยมากที่สุด
40