Page 35 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 35
เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และบางครั้งอาจรวมไปถึงผลกระทบทางการเมืองและสังคม และผลจากการ
ประเมินความเสี่ยงนี้เป็นข้อมูลที่ส าคัญส าหรับการตัดสินใจในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย แต่การ
ประเมินนี้ต้องท าอย่างต่อเนื่อง ตามการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ผลการประเมิน
สอดคล้องกับสภาพการณ์จริงเสมอ การประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยนี้สามารถประเมินได้ทั้งในระดับ
บุคคล ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศหรือภูมิภาคได้
หากต้องการจัดการความเสี่ยงและลดความสี่ยงจากสาธารณภัยต้องจัดการกับปัจจัยทั้ง 4
ดังกล่าวได้แก่ การลดภัย ลดความล่อแหลม ลดความเปราะบาง และเพิ่มศักยภาพนั่นเอง ซึ่งสามารถท าได้ดังนี้
1) การลดภัย หากเป็นกรณีของภัยธรรมชาติ อาจท าได้ยากเนื่องจากบางชนิดเป็น
ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ เช่น แผ่นดินไหวที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของ
เปลือกโลก แต่บางชนิดอาจท าให้ลดลงได้ เช่น ภัยจากภาวะโลกร้อน ภัยจลาจล เป็นต้น
2) การลดความล่อแหลม โดยการจ ากัดไม่ให้ประชาชน บ้านเรือน ชุมชน
ทรัพย์สิน สิ่งปลูกสร้าง พื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ฯลฯ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มักเกิดภัย ด้วยวิธีการก าหนดเขต
การใช้พื้นที่ การออกกฎระเบียบควบคุมการใช้พื้นที่
3) การลดความเปราะบาง ท าได้โดยลดปัจจัยที่ท าให้ขาดความสามารถในการ
รับมือกับสาธารณภัย เช่น การออกแบบและใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานในพื้นที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหว หรือ
การสร้างบ้านใต้ถุนสูงในพื้นที่น้ าท่วมถึง เป็นต้น
4) การเพิ่มศักยภาพ ท าได้โดย การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับภัย รู้จักพื้นที่
อันตรายและปลอดภัยในชุมชน มีการวางแผน ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้แนวทางในการปฏิบัติตนตามระยะต่างๆ
ของการเกิดภัย
2.1.2 การป้องกันและลดผลกระทบของสาธารณภัย
2.1.2.1 การป้องกันสาธารณภัย เป็นการป้องกันการเกิดสาธารณภัยและป้องกันไม่ให้
ประชาชนหรือสิ่งต่างๆ ได้รับอันตรายหรือความเสียหายจากสาธารณภัย ซึ่งสามารถกระท าได้โดย
1) การก าหนดนโยบายในระดับชาติที่ชัดเจนในด้านการป้องกันหรือลด
สาธารณภัย รวมถึงการก าหนดโครงสร้างการปฏิบัติงานรองรับนโยบายด้วย เช่น การก าหนดให้มีโครงการ
ต่างๆ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการปลูกป่าชายเลน และมีคณะกรรมการต่างๆ ในการปฏิบัติงาน เช่น
คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เป็นต้น นโยบายที่ชัดเจนเป็นปัจจัยส าคัญในการ
ก าหนดทิศทางการจัดการสาธารณภัยแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2) การสร้างความตระหนักและการให้ความรู้เกี่ยวกับสาธารณภัยแก่ประชาชน
โดยความรู้ที่ให้แก่ประชาชนควรประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับผลและผลกระทบจากภัยต่อตนเอง การปฏิบัติ
ก่อนและหลังการเกิดภัย แนวทางการช่วยเหลือของรัฐ การมีส่วนร่วมของประชาชนในระยะต่างๆของการเกิด
ภัย ส าหรับความรู้เพื่อดูแลตนเองที่ประชาชนควรได้รับรู้ ได้แก่ การรู้จักภัยและการหลบภัย การปฐมพยาบาล
การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย เป็นต้น
3) การใช้กฎหมาย รัฐต้องก าหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย การจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ การควบคุมการก่อสร้าง การแบ่งเขตการใช้พื้นที่/ที่ดิน ตลอดจน
การให้ความช่วยเหลือและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดสาธารณภัยด้วย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกัน
อุบัติเหตุการจราจร กฎหมายควบคุมอาคารสูง กฎหมายจ ากัดเขตโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
35