Page 34 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 34

การประเมินภัย คือ การระบุลักษณะของภัย ความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น ความรุนแรงในพื้นที่ที่
               ต้องการศึกษา ดังนั้น ข้อมูลที่ควรต้องศึกษาจะมีข้อมูลภัยในอดีต ขนาดของภัยหรือประเภทของภัย

               ความรุนแรง พื้นที่การเกิด ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลด้านน้ า(ระดับน้ า การจัดเก็บน้ า ปริมาณน้ าฝน
               ลักษณะทางกายภาพ พื้นที่รับน้ า ) ข้อมูลด้านธรณี(ระดับสูงต่ าของดิน กายภาพของดิน แนวแผ่นเปลือกโลก)
               และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ถ้ามีแผ่นดินไหว โอกาสที่จะเกิดแรงสั่นสะเทือนกี่ริกเตอร์ ถ้ามีพายุ ความเร็วลม

               จะอยู่ในช่วงประมาณเท่าไร
                                2.1.1.2 ความล่อแหลม คือ ที่ตั้ง จ านวน/มูลค่าของทรัพย์สิน อาคารบ้านเรือน กิจการ
               ร้านค้า พื้นที่ทางการเกษตร โครงสร้างพื้นฐาน หรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ตั้งอยู่ภายในอาณาบริเวณพื้นที่ที่
               อาจจะเกิดภัยหรือที่มีโอกาสได้รับความเสียหายจากภัยนั้น ๆ ได้

                                             การประเมินความล่อแหลม คือ การระบุจ านวน สถานที่ตั้งและรายละเอียดส าคัญ
               ด้านประชากร ทรัพย์สิน โครงสร้างพื้นฐาน หรือสภาพแวดล้อมทีมีความเสี่ยงอยู่ในขอบเขตบรเิวณที่ล่อแหลม
               ต่อการเกิดภัย เช่น กลุ่มประชากรตามอายุ ประเภทอาคารบ้านเรือน สถานที่ส าคัญ เช่น ที่ท าการของภาครัฐ
               โรงพยาบาล โรงเรียน และสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่นถนน ระบบประปา ระบบการจ่ายไฟฟ้า

                                2.1.1.3 ความเปราะบาง คือ ปัจจัยหรือสภาวะใดๆ ที่ท าให้ชุมชนหรือสังคมขาด
               ความสามารถในการป้องกันตนเอง หรือ ไม่สามารถรับมือกับภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น หรือแม้กระทั่งไม่
               สามารถฟื้นฟูชีวิต สังคม และสภาพแวดล้อมได้อย่างรวดเร็วจากความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ และระดับผลกระทบ
               ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับภัยนั้นๆ

                                         การประเมินความเปราะบาง คือ การวิเคราะห์สภาพความอ่อนแอของ
               องค์ประกอบทางกายภาพ และสังคม เศรษฐกิจเช่น โครงสร้างพื้นฐาน อาคาร กลุ่มประชากรที่อาจเจ็บหรือ
               ตาย และทรัพย์สินหากได้รับผลกระทบจากภัย รวมไปถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากสภาพทางสังคมของกลุ่ม

               ประชากรซึ่งมีการตอบสนองต่อเหตุการณ์สาธารณภัยแตกต่างกัน
                                2.1.1.4 ศักยภาพ คือ ความรู้ ทักษะ และทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในความครอบครองของ
               บุคคล ชุมชน สังคม หรือ หน่วยงานใด ๆ ซึ่งมีลักษณะเชิงบวกที่สามารถน ามาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน
               และสังคมในการบริหารจัดการความเสี่ยง และรับมือกับความเสี่ยงได้มากขึ้น
                                              การประเมินศักยภาพ คือ การวเิคราะห์ศักยภาพ ทักษะ ความสามารถของ

               ประชากร ตลอดจนองค์กรและสถาบันทางสังคมในการรับมือผลกระทบจากภัย ศักยภาพที่ส าคัญคือมิติด้าน
               มนุษย์และสภาพสังคม ความพร้อมในการรับมือกับสาธารณภัย ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมด้านทักษะ ทรัพยากร
               และงบประมาณสนับสนุน จากปัจจัยดังกล่าว สามารถประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยได้ตามสมการ ดังนี้


                               ความเสี่ยงจากสาธารณภัย =    ภัย x ความล่อแหลม x ความเปราะบาง
                                                                                            ศักยภาพ

                           จากสมการข้างต้น แสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงจากสาธารณภัย กล่าวคือ
               การเกิดภัย การมีความล่อแหลม การมีความเปราะบางและการขาดศักยภาพ เป็นตัวแปรที่มีผลให้ความเสี่ยง
               จากสาธารณภัยเพิ่มมากขึ้น
                                สรุปว่า ความเสี่ยงนั้นเป็นผลรวมของการวเิคราะห์ความเป็นไปได้ หรือ ความน่าจะเป็นในการ

               เกิดภัยและวิเคราะห์ระดับของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากภัยนั้น ๆ ซึ่งมักอยู่ในรูปของผลกระทบต่อมนุษย์




               34
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39