Page 36 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 36

2.1.2.2  การลดผลกระทบของสาธารณภัย เป็นมาตรการเฉพาะที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อลด
               ความรุนแรง  ความเสียหาย  ผลกระทบของสาธารณภัยที่จะเกิดกับผู้ประสบภัย  ชุมชน  และประเทศชาติ

               ไม่ได้มุ่งเน้นจัดการที่สาเหตุ  วิธีการหรือแนวทางในการลดความรุนแรงของสาธารณภัยนั้น  สามารถใช้แนวทาง
               เดียวกับการป้องกันสาธารณภัยได้  มีทั้งที่ใช้โครงสร้างและไม่ใช้โครงสร้าง แต่วิธีการหรือแนวทางในการลด
               ผลกระทบของสาธารณภัยนิยมก าหนดในรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง  เช่น

                                       1) การก าหนดหลักเกณฑ์/มาตรฐานส าหรับสิ่งก่อสร้างโดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างใน
               บริเวณที่เสี่ยงภัย  เช่น  ที่พักอาศัยในบริเวณที่เกิดวาตภัย  แผ่นดินไหว  บ่อยครั้ง เป็นต้น
                                           2) การแบ่งเขตการใช้ที่ดิน  โดยเมื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดสาธารณภัย
               ชนิดต่างๆ ได้แล้ว อาจแบ่งเขตที่ดินส าหรับการประกอบกิจกรรมต่างๆ เช่น เขตที่พักอาศัย เขตโรงงาน

               อุตสาหกรรม  เขตเพาะปลูกหรือใช้การแบ่งเขต เพื่อก าหนดเป็นเขตต้องห้ามส าหรับการสร้างอาคาร เขตจ ากัด
               ที่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารได้ แต่ต้องระบุความมั่นคงแข็งแรงเป็นพิเศษ เขตเตือนภัยเป็นเขตที่อนุญาตให้
               ก่อสร้างอาคารได้ตามปกติ เป็นต้น
                                       3) การก าหนดระเบียบในการก่อสร้างอาคารสูง การควบคุมสารพิษ ฯลฯ

                                       4) การเปลี่ยนฤดูกาลในการท าการเกษตร เพื่อให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จสิ้น
               ก่อนช่วงเวลาของการเกิดสาธารณภัย เช่น การเปลี่ยนเวลาในการเริ่มปลูกข้าวให้เร็วขึ้น เพื่อให้เก็บเกี่ยวผลผลิต
               ได้ก่อนน้ าท่วมหรือการปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่ใช้เพาะปลูกในพื้นที่ที่น้ าท่วมโดยใช้พันธุ์ที่สามารถโตในน้ าลึกได้
               เป็นต้น

                                       5) การก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในสถานที่ที่ห่างจากบริเวณพื้นที่ที่เสี่ยงต่อ
               การเกิดสาธารณภัยได้ง่าย เช่น การสร้างถนนห่างจากริมน้ าหรือเชิงเขา เป็นต้น
                            2.1.3 การเตรียมความพร้อม เป็นมาตรการซึ่งช่วยให้รัฐ ชุมชนและบุคคลตอบสนองต่อ

               สถานการณ์สาธารณภัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ วิธีการหรือแนวทางในการเตรียมความพร้อมกระท า
               ได้ ดังนี้
                                2.1.3.1 การจัดท าแผนสาธารณภัย ซึ่งเป็นแผนหลักทั่ว ๆ ไปส าหรับสาธารณภัยรูปแบบ
               ต่างๆ อาจเป็นแผนป้องกันสาธารณภัยหรือแผนรับสาธารณภัยก็ได้ แผนนี้ต้องก าหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
               ของบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ อย่างชัดเจน และเมื่อจัดท าแล้วต้องมีการฝึกซ้อมเป็นระยะ ๆ และต้องปรับให้

               เข้ากับสถานการณ์สาธารณภัยที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
                                2.1.3.2 การจัดเตรียมสถานที่ส าหรับการอพยพเคลื่อนย้ายประชาชน/ผู้ประสบภัย ซึ่งต้อง
               พิจารณาถึงความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย ในการเคลื่อนย้ายและการพักอาศัยด้วย

                                2.1.3.3 การจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งในส่วนของประชาชนและรัฐ ที่ส าคัญได้แก่ เครื่อง
               อุปโภคบริโภคต่างๆ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคที่จ าเป็น และ กระเป๋าฉุกเฉิน(Emergency Kit)*
               เป็นต้น
                                 *กระเป๋าฉุกเฉิน (Emergency Kit) (สุขุมา ฐิติพลธ ารง, ปาณิศา บุณยรัตกลิน, 2564) คือ
               ชุดอุปกรณ์ส าหรับการเตรียมพร้อมเพื่อให้สามารถตอบสนองกับภัยต่างๆได้ ท าให้สามารถตอบสนองต่อภัยได้

               อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระเป๋าฉุกเฉินสามารถปรับให้มีอุปกรณ์ให้เฉพาะกับภัยที่แตกต่างกันได้ โดยมีหลักการ
               เตรียมกระเป๋าฉุกเฉิน ดังนี้ 1) เตรียมกระเป๋าที่มีของที่ส าคัญและจ าเป็นต่อการด ารงชีวิต โดยไม่ต้องเสียเวลา
               ค้นหาอีก และตั้งไว้ให้พร้อมส าหรับการหยิบออกจากบ้านทันทีเมื่อต้องการอพยพ หรือกรณีที่ไม่ได้อพยพออก




               36
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41