Page 41 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 41
2.2.3 การกู้ภัย เป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและระงับภัยที่เกิดขึ้นให้ลดน้อยลง การกู้ภัยควร
กระท าทันทีในขณะเกิดสาธารณภัย การกู้ภัยและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยต้องมีการฝึกอบรม และมีอุปกรณ์
เครื่องใช้และบุคลากรที่พร้อมที่จะปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่จะ
ปฏิบัติงานกู้ภัยจะต้องมีการแยกประเภท มีการจัดรูปแบบของหน่วยงานมี ภารกิจหน้าที่และมีการติดต่อ
ประสานงานร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ วิธีการหรือแนวทางในการกู้ภัยที่ส าคัญ
ประกอบด้วย
2.2.3.1 การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย การค้นหาผู้ประสบภัยต้องค านึงถึง
สถานการณ์ สภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ ผู้ให้การช่วยเหลือต้องพิจารณาตนเองว่าสามารถจะด าเนินการได้
หรือไม่ ด้วยวิธีการใด การจะค้นหาผู้ประสบภัยได้ถูกต้องรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์นั้น ต้องมีการรวบรวม
ข้อมูลของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้ เพื่อน ามาวิเคราะห์และใช้เป็นแนวทาง
ในการด าเนินงาน การค้นหาผู้ประสบภัยถ้าจ าเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือทุ่นแรงต่าง ๆ ควรพิจารณาให้
เหมาะสม และอาจใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ใกล้ๆ บริเวณที่เกิดสาธารณภัยได้
2.2.3.2 การให้บริการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน การบริการที่ส าคัญ ได้แก่ การปฐมพยาบาล
และการจ าแนกผู้ประสบภัย
2.2.3.3 การเคลื่อนย้ายและส่งต่อผู้ประสบภัยที่บาดเจ็บ เนื่องจากในการเกิดสาธารณภัย
แต่ละครั้งจะมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจ านวนมากเกินกว่าสถานพยาบาลใกล้เคียง หรือหน่วยเคลื่อนที่จะ
ให้บริการได้ จึงต้องมีการส่งต่อผู้ประสบภัยไปยังสถานพยาบาลอื่นๆ การเคลื่อนย้ายต้องกระท าด้วยความ
ถูกต้องรวดเร็วและต้องพยายามให้ผู้ประสบภัยได้รับการกระทบกระเทือนเนื่องจากการเคลื่อนย้ายน้อยที่สุด
เท่าที่จะท าได้
2.2.3.4 การช่วยเหลือฉุกเฉินอื่นๆ นอกจากการช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลแล้ว
ผู้ประสบภัยยังต้องการความช่วยเหลือในเรื่องความจ าเป็นขั้นพื้นฐานอื่นๆอีกด้วย เช่น อาหาร น้ า เครื่องนุ่งห่ม
ที่พักอาศัย เป็นต้น
2.2.4 การอพยพผู้ประสบภัย เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นการอยู่อาศัยในพื้นที่ที่เกิดสาธารณภัยนั้นจะ
เป็นอันตรายได้ จึงต้องมีการอพยพผู้ประสบภัยไปยังที่พักพิงชั่วคราว ในการอพยพนี้ต้องมีการจัดล าดับ
ความส าคัญของผู้ประสบภัยเพื่อการอพยพก่อน-หลัง เช่นกลุ่มผู้ประสบภัยที่เป็นเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ควรได้รับ
การอพยพไปก่อนกลุ่มอื่นๆ แต่ในกรณีเด็ก บิดามารดาต้องอพยพไปพร้อมกับเด็กด้วยทั้งครอบครัว เป็นต้น
การอพยพผู้ประสบภัย สถานที่ที่ใช้เป็นที่พักพิงชั่วคราวต้องปลอดภัย ต้องช่วยเหลือผู้
อพยพในการขนย้ายทรัพย์สินที่ส าคัญที่อยู่ในพื้นที่สาธารณภัยไปด้วยตามที่ผู้อพยพร้องขอ ต้องมีการจัดท า
ทะเบียนผู้อพยพ และจัดให้มีบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในบริเวณที่พักพิงชั่วคราวด้วย
2.2.5 การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลในภาวะฉุกเฉิน เมื่อเกิดสาธารณภัย การสื่อสาร
เป็นสิ่งจ าเป็นเนื่องจากต้องมีการประสานการปฏิบัติในการจัดการสาธารณภัยอย่างต่อเนื่อง แต่ระบบการ
สื่อสารอาจถูกท าลายได้ จ าเป็นต้องมีการจัดตั้งเครื่องมือในการติดต่อ สื่อสารที่จ าเป็น เช่น วิทยุ โทรศัพท์
โทรสาร เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารด้วย ข้อมูลที่ผู้ปฏิบัติงานในจุดเกิดภัยต้องรายงานกลับมายังศูนย์ปฏิบัติการ
ได้แก่ ลักษณะของภัยที่เกิดขึ้น สถานที่ที่เกิดภัย ชนิดของภัย อันตราย หรือการปนเปื้อนสารเคมีต่างๆ การ
เข้าถึงจุดเกิดภัย จ านวนผู้ประสบภัย การบริการฉุกเฉินที่มีอยู่แล้ว (Major accident, Exact location,
Type, Hazard, Access, Number of casualties, Emergency services: METHANE)
41