Page 44 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 44
ประเมินถึงแผน มาตรการต่างๆ เช่น การป้องกัน การลดความรุนแรง การเตรียมความพร้อม การเตือนภัย การ
สื่อสารคมนาคม การจัดสรรทรัพยากร การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การมอบหมายงานและปัจจัยอื่นๆ ด้วย
3. กรอบการด าเนินงานและความร่วมมือของนานาชาติเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงจาก
สาธารณภัย
3.1 กรอบการด าเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย พ.ศ. 2558 – 2573
กรอบการด าเนินงานเซนไดจัดท าเพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยและลดการสูญเสียชีวิต วิถี
ชีวิต และสุขภาพ ตลอดจนความสูญเสียต่อสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ กายภาพ สังคม และสภาพแวดล้อมของ
บุคคล ธุรกิจ ชุมชน และประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมี เป้าหมาย คือ ป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงใหม่
พร้อมทั้งลดความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมตามมาตรการทางเศรษฐกิจ โครงสร้าง กฎหมาย สุขภาพ วัฒนธรรม
การศึกษา สภาพแวดล้อม เทคโนโลยี การเมือง และมาตรการเชิงสถาบันที่มีการบูรณาการและลดความเหลื่อม
ล้ าในการป้องกัน รวมถึงการท าให้ความล่อแหลมและความเปราะบางต่อสาธารณภัยลดลงด้วย ตลอดจนการ
เพิ่มให้มีการเตรียมความพร้อมมากขึ้นเพื่อการเผชิญเหตุและฟื้นฟูอันน าไปสู่ความสามารถที่จะรับมือและฟื้น
คืนกลับหรือการฟื้นเร็วทั่วอย่างยั่งยืน(Resilience) ได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กรอบการด าเนินงานเซนไดฯมีมาตรการส าคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. การสร้างความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
2. กรเสริมสร้างศักยภาพในการบริหาร และจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
3. การลงทุนในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติเพื่อให้พร้อมรับมือและฟื้นคืนกลับได้ในระยะเวลาที่
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
4. การพัฒนาศักยภาพในการเตรียมความพร้อมเผิชญเหตุสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจน
การฟื้นสภาพและซ่อมสร้างที่ดีกว่าเดิมในช่วงของการบรูณะฟื้นฟูภายหลังเกิดสาธารณภัย
(build back better)
3.2 กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพิธีสารเกียวโต
กรอบอนุสัญญาและพิธีสารนี้จัดท าเพื่อหาแนวทางยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ
ป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์และได้ก าหนดหลักการที่ส าคัญไว้ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติระดับโลกที่ต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยจ าเป็นต้องอาศัยการมีส่วน
44