Page 48 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 48
4.4 การบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศไทยในปัจจุบัน
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 กฏหมายหลักในการบริหาร
จัดการสาธารณภัย มีการก าหนดกรอบการบริหารจัดการสาธารณภัยไว้อย่างชัดเจน และก าหนดให้กรม
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการสาธารณภัย รวมทั้งมีการก าหนดกรอบ
การประสานการปฏิบัติไว้ที่ส าคัญ ดังนี้
4.4.1 นายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
(กปภ.ช.) และในกรณีที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง มีอ านาจสั่งการผู้บัญชาการ ผู้อ านวยการ หน่วยงาน
ของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ด าเนินการเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4.4.2 คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีหรือ
รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ เป็นผู้ก าหนดนโยบายในการจัดท า
แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ บูรณาการพัฒนาระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ด าเนินการจัดท าแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ โดยมีอธิบดีกรมป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัยเป็นกรรมการและเลขานุการ กปภ.ช.
4.4.3 คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่
นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ เป็นผู้รับผิดชอบนโยบายด้านอุบัติภัย และการปลูกจิตส านึก
เรื่องความปลอดภัย(Safety Mind) โดยมีอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นกรรมการและ
เลขานุการ กปอ.
4.4.4 การบัญชาการ การสั่งการ และการด าเนินการใดๆ เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยในระดับประเทศ ระดับจังหวัด/กรุงเทพมหานคร และระดับท้องถิ่น เป็นไปตามที่กฎหมายก าหนด
-----------------------------------------
48