Page 43 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 43

การฟื้นฟูทางด้านร่างกายของผู้ประสบภัย เป็นการดูแลการบาดเจ็บ การเพิ่มสมรรถภาพ
               ทางกายโดยการรักษาพยาบาลต่อเนื่อง จากช่วงเหตุการณ์ฉุกเฉิน การป้องกันและควบคุมโรคที่อาจเกิดขึ้นได้

               ภายหลังการเกิดสาธารณภัย ได้แก่ โรคระบาดและโรคติดเชื้อต่างๆ การฟื้นฟูความแข็งแรงของอวัยวะ รวมถึง
               การฝึกใช้กายอุปกรณ์แทนอวัยวะในกรณีที่สูญเสียอวัยวะในเหตุการณ์สาธารณภัย
                                ส่วนการฟื้นฟูด้านจิตใจ ในระยะนี้ควรแบ่งผู้ประสบภัยเป็นประเภทต่างๆได้แก่ ผู้บาดเจ็บ

               หรือพิการ ญาติผู้เสียชีวิต ผู้เสียหาย/สูญเสีย เพื่อให้การฟื้นฟูด้านจิตใจที่เหมาะสม ได้แก่ ให้ก าลังใจ ให้ข้อมูล
               เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้ความรู้ด้านการดูแลร่างกาย ติดตามเยี่ยมบ้าน ให้ค าแนะน าการติดตามผู้สูญหาย
               จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เยี่ยมให้ก าลังใจและสนับสนุนให้กลุ่มประคับประคองจิตใจช่วยเหลือกัน และส่งต่อ
               ผู้ประสบภัยที่หากให้การดูแลแล้วสภาพจิตใจยังไม่ดีขึ้น ยังมีอาการวิตกกังวล หวาดกลัว สับสน งุนงง อยู่ไม่นิ่ง

               มีอารมณ์โกรธแค้นรุนแรงซึมหรือเศร้าอย่างรุนแรง ฯลฯ ไปยังสถานพยาบาลที่จะสามารถให้การช่วยเหลือที่
               เหมาะสมได้



















                           2.3.3 การฟื้นฟูบูรณะและซ่อมสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานและที่อยู่อาศัย
                                การฟื้นฟูและซ่อมสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานเป็นการปรับปรุงหรือก่อสร้างระบบ
               โครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุม สาธารณูปโภค การสื่อสาร การขนส่ง การเกษตร การอุตสาหกรรม สถานที่ท า
               การของรัฐ การสุขาภิบาล สถานที่พักผ่อนสาธารณะ และอื่นๆ ส่วนใหญ่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้าน

               วิศวกรรม
                                ส่วนด้านที่อยู่อาศัย เป็นการบูรณะและก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่ถูกท าลายและได้รับความ
               เสียหายขึ้นมาใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยหลังเกิดสาธารณภัย รวมถึงป้องกันและลด
               ผลกระทบจากสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นอีก

                           2.3.4 การฟื้นฟูด้านสังคมและเศรฐกิจ การฟื้นฟูด้านสังคมเป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้
               ค าปรึกษา การประสานงานช่วยเหลือ การฟื้นฟูอาชีพ การท าให้ผู้ประสบภัยกลับมาประกอบอาชีพและด าเนิน
               ชีวิตได้อย่างปกติ ในด้านเศรษฐกิจ เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่จ าเป็น เพื่อให้ผู้ประสบภัยกลับมามี
               ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น การสนับสนุนในลักษณะเงินให้เปล่า เงินอุดหนุน เงินสมทบ เงินชดเชย หรือผ่อน

               ผันด้วยการพักช าระหนี้ การลดหย่อนภาษี เงินกู้ดอกเบี้ยต่ าเพื่อส่งเสริมการลงทุนประกอบอาชีพ เป็นต้น
                           2.3.5 การประเมินผลการจัดการความเสี่ยงสาธารณภัย   เพื่อประโยชน์ที่จะท าให้ทราบว่าการ
               แก้ไขปัญหาสาธารณภัยประสบความส าเร็จหรือไม่อย่างไร การประเมินผลนี้ควรกระท าอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะ

               ท าได้หลังเกิดสาธารณภัยและต้องประเมินทุกระยะของการเกิดสาธารณภัยและการจัดการ โดยควรต้อง




                                                                                                       43
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48