Page 32 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 32

1.3  ปัจจัยพื้นฐานในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
                           1.3.1  ความมุ่งมั่นทางการเมือง (Political will) เป็นปัจจัยส าคัญที่สุดซึ่งผู้น าทั้งระดับประเทศ

               และระดับท้องถิ่นจะต้องมีวิสัยทัศน์ (vision) และมุ่งมั่นที่จะท าให้ประชาชนในประเทศและท้องถิ่นตระหนักถึง
               ความเสี่ยงต่อสาธารณภัยต่าง ๆ และเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากสาธารณภัยเหล่านั้น
                           1.3.2  นโยบาย (Policy) ที่จะน าพาไปสู่การวางแผน และการด าเนินการให้เป็นรูปธรรม

                           1.3.3  การบริหารจัดการในภาวะสาธารณภัย (Disaster management) โดยต้องมีแผน
               ระดับชาติและระดับท้องถิ่น
                                 1.3.3.1 การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public participation)
                                1.3.3.2 การแพทย์/สาธารณสุขและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาธารณภัย

                                  1.3.3.3 การสร้างเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
                                  1.3.3.4 สื่อมวลชน ท าให้การเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ท าได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว


               2. การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยตามวงจรการเกิดสาธารณภัย
                      สาธารณภัยทุกประเภทมีลักษณะการเกิดที่คล้ายคลึงกันคือมีลักษณะการเกิดที่ต่อเนื่องแบ่งเป็นระยะๆ

               โดยใช้เวลาเป็นตัวก าหนดโดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้
                       - ระยะก่อนเกิดสาธารณภัย (Pre-impact  phase) หมายถึง  ช่วงเวลาที่สาธารณภัยยังไม่เกิดขึ้น
               นับตั้งแต่ช่วงเวลาปกติที่ยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะมีภัยเกิดขึ้นจนถึงช่วงเวลาที่มีสิ่งบอกเหตุว่าก าลังจะมีภัยเกิดขึ้น
                       - ระยะเกิดสาธารณภัย (Impact  phase) หมายถึง  ช่วงเวลาที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้นก่อให้เกิดความ

               เสียหายทั้งแก่ชีวิตและทรัพย์สิน  ระยะนี้อาจเป็นวินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน หรือ ปี ก็ได้ขึ้นกับชนิดของ
               สาธารณภัยที่เกิด
                       - ระยะหลังเกิดสาธารณภัย (Post-impact  phase) หมายถึง  ช่วงเวลาที่สาธารณภัยได้ผ่านพ้นไป
               แล้วจนถึงระยะที่ไม่มีภาวะคุกคามที่จะเกิดการบาดเจ็บหรือการท าลายขึ้นอีก เป็นช่วงของการช่วยเหลือทั้งด้าน

               การบรรเทาภัยและการฟื้นฟู บูรณะในด้านต่างๆ
                      ด้วยสาธารณภัยเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย จึงต้อง
               จัดการกับปัจจัยที่ท าให้เกิดความเสี่ยงด้วยมาตรการต่างๆเพื่อให้ปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดจากสาธารณภัยเหลือ

               น้อยที่สุด ซึ่งสามารถจัดการตามวงจรการเกิดสาธารณภัยได้ ดังภาพที่ 1 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
























               32
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37