Page 78 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 3 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 78

3. แนวทางการดูแลผูประสบภัยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
                   Leininger กลาววาการดูแลเพื่อนมนุษย (Human care) เปนปรากฏการณสากลเพื่อการอยูรอดของ

               มนุษยชาติ การดูแลเปนหัวใจสำคัญสำหรับการพยาบาล เปนการปฏิบัติกิจกรรมการชวยเหลือ (Assistive) การ
               สนับสนุนค้ำจุน (Supportive) การอำนวยความสะดวก (Facilitative) และการสรางความสามารถ (Enabling)
               ใหกับบุคคลหรือกลุมบุคคล ตามความตองการที่แสดงออกหรือคนหาได เพื่อคงไวซึ่งความมีสุขภาพดี หรือการ

               ดำเนินชีวิตที่ผาสุกของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ภายใตโครงสรางของสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดลอม
               ทั้งนี้การดูแลในแตละวัฒนธรรมอาจจะแตกตางกันไป มีแบบแผนหรือกระบวนการที่เฉพาะ แตจะมี

               ลักษณะรวมเปนสากลอยูดวย ขณะที่การบริการสุขภาพเปนระบบที่มีแบบแผนเฉพาะในการปฏิบัติ คือ
               มีวัฒนธรรมเฉพาะซึ่งอาจมีลักษณะการดูแลที่แตกตางไปจากระบบการดูแลของประชาชนหรือการดูแลพื้นฐาน
               อยางไรก็ตามการใหบริการสุขภาพจะบรรลุเปาหมายไดจะตองเปนการดูแลที่มีความสอดคลองทางวัฒนธรรม
               ทั้งระบบพื้นบานและระบบของวิชาชีพ

                   จากทฤษฎี Cultural care และ Sunrise Model ของ Leininger เสนอวากระบวนการพยาบาลผูที่มีความ
               แตกตางทางวัฒนธรรมนั้นจะเกี่ยวของกับ Cultural care 3 ลักษณะ (Leininger, 1996) ดังนี้

                   1) Cultural care preservation/maintenance
                      เปนกระบวนการพยาบาลที่พยาบาลใหการดูแลโดยรักษาและคงไวซึ่งวัฒนธรรมความเชื่อของ
               ผูประสบภัย ซึ่งแสดงถึงการที่ผูประสบภัยไดรับการยอมรับนับถือจากพยาบาลนั้นเอง

                   2) Cultural care accommodation/negotiation
                      เปนกระบวนการที่พยาบาลมีสวนชวยใหผูประสบภัยเรียนรูที่จะปรับตัวตอสิ่งตางๆ อยางคอยเปนคอย
               ไป และชวยใหผูประสบภัยสามารถตอรองกับบุคลากรทีมสุขภาพในเรื่องของการรักษาพยาบาลได เพื่อให

               ผูประสบภัยไดรับประโยชนเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของตนเอง มีความพึงพอใจในการรักษาพยาบาลรวมไปดวย
                   3) Cultural care repatterning/ restructuring
                     เปนกระบวนการที่พยาบาลสามารถชวยใหผูประสบภัยมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนแนวทาง

               ปฏิบัติและวิถีการดำรงชีวิตของตนใหเขากับสภาพแวดลอมและรูปแบบของการดูแลสุขภาพจากทีมสุขภาพโดย
               ที่วัฒนธรรม ความเชื่อ และคานิยมของผูประสบภัยยังคงไดรับการยอมรับนับถือจากพยาบาลอยูเชนเดิม ทั้งนี้

               การปรับเปลี่ยนดังกลาวจะตองมาจากความตองการและความรวมมือของผูประสบภัยเปนสำคัญ

               4. แนวทางการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยในชุมชนที่มีประชากรซึ่งมี


               ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
                   4.1 รวบรวมขอมูลเกี่ยวกับที่ตั้งของบานเรือนของชนกลุมนอย คนตางดาวและจัดทำแฟมขอมูลของชน
               กลุมนอย/คนตางดาว และรวมทั้งขอมูลเกี่ยวกับขอจำกัดในการสื่อสารของชนกลุมนอย/คนตางดาวในชุมชน

                  4.2 สรางสัมพันธภาพกับตัวแทนชนกลุมนอย/คนตางดาวเพื่อการสรางความรวมมือในการจัดทำระบบ
               เตรียมความพรอมดานการแพทยและสาธารณสุขเมื่อเกิดสาธารณภัย

                  4.3 รวมกับตัวแทนชนกลุมนอย/คนตางดาวในการออกแบบและประเมินกลยุทธการสื่อสารความเสี่ยงจาก
               สาธารณภัยเพื่อใหมั่นใจวากลยุทธที่ใชนั้นสอดคลองกับวัฒนธรรมและภาษาของชนกลุมนอย/คนตางดาว



               78
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83