Page 121 - ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2563 - 2566
P. 121

แนวทำงกำรวินิจฉัยโรคควำมดันโลหิตสูง



                     การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงใช้อ้างอิงจากระดับความดันโลหิตที่วัดได้จากสถานพยาบาล

              เป็นหลัก แต่การวัดอาจมีความคลาดเคลื่อนได้จากสาเหตุต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อมของห้องตรวจ อุปกรณ์
              วัดความดันโลหิต ความพร้อมของผู้ถูกตรวจ และอาจท�าให้ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์สูงหรือ
              ต�่าเกินจริง ดังนั้นจึงควรจัดระดับการวินิจฉัยเบื้องต้นจากผลการวัดความดันโลหิตในครั้งแรกที่มาพบแพทย์
              เป็น 4 ระดับ ดังนี้
                     ระดับที่ 1 High normal blood pressure (ระดับความดันโลหิตในเกณฑ์เกือบสูง) หมายถึง
              ค่าความดันโลหิตเฉลี่ยจากการตรวจครั้งแรกที่สถานพยาบาล มีค่าตั้งแต่ 130/85 mmHg แต่ยังไม่ถึง
              140/90 mmHg หากตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถวินิจฉัย

              ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ แม้จะมีระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์เกือบสูงเท่านั้น การตรวจว่ามี
              ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในเกณฑ์สูง ใช้ผลการประเมินและตรวจพบหัวข้อใด
              หัวข้อหนึ่งต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 หัวข้อ
                     ก. มี target organ damage (TOD)
                     ข.  มีหรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease, CVD)
                     ค.  มีหรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคเบาหวาน (diabetes mellitus, DM)
                     ง.  ประเมินความเสี่ยงของโอกาสการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปีข้างหน้าได้มากกว่า
              ร้อยละ 10
                     ระดับ 2 Possible Hypertension (อาจเป็นโรคความดันโลหิตสูง) หมายถึง ค่าความดันโลหิตเฉลี่ย

              จากการตรวจครั้งแรกที่สถานพยาบาล มีค่าตั้งแต่ 140/90 mmHg ขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 160/100 mmHg
              หากตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
              ได้เลย
                     ระดับ 3 Probable Hypertension (น่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง) หมายถึง ค่าความดันโลหิต
              เฉลี่ยจากการตรวจครั้งแรกที่สถานพยาบาล มีค่าตั้งแต่ 160/100 mmHg ขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 180/110 mmHg
              หากตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
              ได้เลย

                     ระดับ 4 Definite Hypertension (เป็นโรคความดันโลหิตสูง) หมายถึง ค่าความดันโลหิตเฉลี่ย
              จากการตรวจครั้งแรกที่สถานพยาบาล มีค่าตั้งแต่ 180/110 mmHg ขึ้นไป ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคความดัน
              โลหิตสูงได้เลย แม้ว่าไม่มีอาการใดๆ และแม้ว่าผลการตรวจประเมินจะพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิด
              โรคหัวใจและหลอดเลือดไม่สูง
                     ผู้ที่มีค่าความดันโลหิตเฉลี่ยจากการตรวจครั้งแรกที่สถานพยาบาลอยู่ในระดับ 1 ถึงระดับ 3
              ที่ผลตรวจประเมินไม่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติม
              โดยการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน (Home Blood Pressure Monitoring, HBPM)/การวัด
              ความดันโลหิตด้วยเครื่องชนิดติดตัวพร้อมวัดอัตโนมัติ (Ambulatory Blood Pressure Monitoring,
              ABPM) หรือโดยวิธีการนัดมาวัดความดันโลหิตที่สถานพยาบาลซ�้า (Office Blood Pressure Monitoring,

              OBPM) ตามก�าหนด รายละเอียดดังรูปภาพที่ 3 แนวทางการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง


                                                ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำ�กับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ  109  NCD
                                                                             พ.ศ.�2563-2566
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126