Page 123 - ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2563 - 2566
P. 123

แนวทำงกำรติดตำมด้วยกำรวัดควำมดันโลหิตที่บ้ำน




                     1. ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (British Hypertension Society : BHS,
              The Association for the Advancement of Medical Instrumentation : AAMI or European
              Society of Hypertension: ESH) หรือเครื่องวัดความดันโลหิตที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว แต่ได้ท�า clinical

              validation (ตาดูหูฟัง) โดยแพทย์หรือพยาบาล และเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน
              เหมือนเดิมทุกครั้ง
                     2. ผู้วัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านต้องเป็นบุคคลเดิมทุกครั้ง
                     3. สิ่งแวดล้อมในการวัดความดันโลหิต
                       3.1  วัดความดันโลหิตในที่เงียบสงบ

                       3.2 นั่งวัดความดันโลหิตบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลังและมีที่รองแขนนั่งพัก 1 - 2 นาทีก่อนวัด
              ความดันโลหิตทุกครั้ง เท้า 2 ข้าง วางราบกับพื้น ไม่นั่งไขว่ห้าง ไม่นั่งพับเพียบ ไม่นั่งขัดสมาธิ วัดความดันโลหิต
                       3.3 ระหว่างวัดความดันโลหิตไม่พูดหรือออกเสียงใดๆ

                       3.4  งดสูบบุหรี่หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนมาวัดความดันโลหิตไม่น้อยกว่า 30 นาที
                       3.5  แผ่นผ้าที่พันต้นแขน (Upper - arm cuff) ให้วางอยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
                       3.6  ผู้ที่ใส่แขนเสื้อที่หนาควรถอดเสื้อให้แผ่นพันต้นแขนติดกับผิวหนังต้นแขนโดยไม่มีแขนเสื้อ
              คั่นกลาง
                     4. วัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านภายใน 1 ชั่วโมงหลังตื่นนอน (หลังจากอุจจาระ ปัสสาวะ

              แล้ว ไม่วัดความดันโลหิตขณะกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ) ก่อนกินยา กินอาหาร หลังตื่นนอน หลังจากนั่งพัก
              1 - 2 นาที ส่วนการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านเวลากลางคืนก่อนนอน หลังจากนั่งพัก 1 - 2 นาที
              เช่นเดียวกับวัดความดันโลหิตหลังตื่นนอน

                     5. ให้วัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านวันละ 2 ช่วงเวลา คือ ในช่วงเช้าและในช่วงเย็น โดยวัด
              ความดันโลหิต 2 ครั้งในแต่ละช่วงเวลา (วัดช่วงเช้า 2 ครั้งและช่วงเย็นอีก 2 ครั้ง รวมวัดวันละ 4 ครั้ง)
              เป็นเวลาติดต่อกัน 7 วัน และบันทึกค่าความดันโลหิตวัดที่บ้าน 7 วัน ตามตารางที่ 1
                     6. การค�านวณค่าความดันโลหิตที่บ้าน ให้ตัดค่าความดันโลหิตของวันที่ 1 ทิ้งไป โดยน�าค่า
              ความดันโลหิตของวันที่ 2 ถึงวันที่ 7 มาค�านวณหาค่าเฉลี่ยค่าความดันโลหิต

                       6.1 หาค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัวบน 6 วัน คือ ค่าความดันโลหิตตัวบนของวันที่ 2 ถึงวันที่ 7
              รวมกัน (ทั้งหมด 24 ค่า) หารด้วย 24
                       6.2 หาเฉลี่ยความดันโลหิตตัวล่าง 6 วัน คือ ค่าความดันโลหิตตัวล่างของวันที่ 2 ถึงวันที่ 7

              รวมกัน (ทั้งหมด 24 ค่า) หารด้วย 24











                                                ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำ�กับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ  111  NCD
                                                                             พ.ศ.�2563-2566
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128