Page 158 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 158
รวมถึงเข้าร่วมการประชุมกับภาคีภายนอกตามแนวนโยบายที่ได้รับมอบหมาย
กฎบัตรอาเซียนได้กำหนดให้เลขาธิการอาเซียนมีสถานะเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่
ฝ่ายบริหารของอาเซียน ซึ่งมีอำนาจเสนอแนะการแต่งตั้งรองเลขาธิการอาเซียนต่อคณะมนตรี
ประสานงานอาเซียนเพื่อให้ความเห็นชอบได้ โดยให้มีสำนักเลขาธิการอาเซียนเป็นหน่วยงานและ
มีพนักงานตามที่จำเป็น ทั้งนี้ รัฐสมาชิกอาเซียนมีพันธะที่ต้องเคารพต่อความรับผิดชอบของ
เลขาธิการและพนักงานอันมีลักษณะเฉพาะของอาเซียนและไม่แสวงหาที่จะมีอิทธิพลต่อเลขาธิการอาเซียน
และพนักงานในการปฏิบัติตามความรับผิดชอบของตน
(ฉ) คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent
Representatives to ASEAN)
กฎบัตรอาเซียน หมวดที่ ๔ ข้อ ๑๒ ได้กำหนดให้รัฐสมาชิกแต่ละรัฐแต่งตั้งผู้แทนถาวร
ประจำอาเซียนหนึ่งคนในชั้นเอกอัครราชทูตที่มีถิ่นพำนัก ณ กรุงจาการ์ตา โดยผู้แทนถาวรทั้งหมด
จะประกอบกันเป็นคณะกรรมการผู้แทนถาวรซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนการทำงานของคณะมนตรี
ประชาคมอาเซียนและองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา ประสานงานกับสำนักเลขาธิการ
อาเซียนแห่งชาติและองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาอื่น ๆ ติดต่อประสานงานกับ
เลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน อำนวยความสะดวกความร่วมมือของอาเซียนกับ
หุ้นส่วนภายนอก และปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามคณะมนตรีประสานงานอาเซียนกำหนด
(ช) สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariats)
กฎบัตรอาเซียน หมวดที่ ๔ ข้อ ๑๓ ได้กำหนดให้รัฐสมาชิกแต่ละรัฐต้องจัดตั้ง
สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกลางแห่งชาติ เป็นหน่วยงาน
ระดับชาติซึ่งเก็บรักษาข้อสนเทศทั้งปวงเกี่ยวกับอาเซียน ประสานงานระดับชาติเกี่ยวกับการอนุวัติ
การข้อตัดสินใจของอาเซียน ประสานงานและสนับสนุนการเตรียมการระดับชาติของการประชุม
อาเซียน ส่งเสริมอัตลักษณ์และความสำนึกเกี่ยวกับอาเซียนในระดับชาติ และมีส่วนร่วมสร้าง
ประชาคมอาเซียน
(ซ) องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Body)
กฎบัตรอาเซียน หมวดที่ ๔ ข้อ ๑๔ ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชน
อาเซียนขึ้น โดยให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ซึ่งจะกำหนดโดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ปัจจุบัน ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
(ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR)) แล้ว ในการ
ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ ๑๕ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๒
ณ ชะอำ - หัวหิน ราชอาณาจักรไทย อย่างไรก็ดี ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN
Human Right Declaration (AHRD)) ซึ่งจัดทำโดย AICHR ตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุม
รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๔๒ นั้น ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ
ประเด็นที่ให้การตัดสินใจของ AICHR อยู่บนพื้นฐานของหลักการฉันทามติ (Consensus) และ
ให้สิทธิผู้แทน AICHR สามารถใช้สิทธิวีโต้ (VETO) ได้นั้น ว่ามีผลให้ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วย
148 บทความ