Page 156 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 156
หลักการพื้นฐานตามกฎบัตรอาเซียน ข้อ ๒ ดังกล่าวนั้น จะเห็นได้ว่า นอกจากข้อ (ซ) (ฌ)
(ญ) ซึ่งเป็นการรับรองถึงหลักการสากลและข้อ (ฏ) (ฐ) (ฑ) ซึ่งเพิ่มการรับรองในส่วนของมิติ
ด้านเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมรวมถึงความสัมพันธ์กับภายนอกเข้ามาแล้ว ข้อ ๒ อนุมาตราอื่น ๆ
ล้วนแล้วแต่เป็นการเน้นย้ำถึงหลักการดั้งเดิมของอาเซียนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหลักการ
เคารพในเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน หลักการไม่แทรกแซงกัน หลักการหารือกัน
อย่างไม่เป็นทางการ และหลักการยึดถือผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา
ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐสมาชิกในอาเซียนที่เห็นได้ชัดก็คือ เมื่อใดก็ตามที่
มีการขัดกันของหลักการพื้นฐานซึ่งเป็นการรับรองหลักสากล อาทิ ตามกฎบัตร ข้อ ๒ (ซ) (ฌ) (ญ)
กับหลักการที่สืบทอดมาแต่ดั้งเดิม อาทิ การเคารพในเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดนและ
การไม่แทรกแซงแล้ว หลักการพื้นฐานและชุดค่านิยมซึ่งให้ความสำคัญกับความมั่นคงและ
ความเคารพเอกราชและอธิปไตยของรัฐสมาชิกจะถูกยึดถือไว้เป็นหลักที่เหนือกว่า (Prevail)
อยู่เสมอ ซึ่งหลักการพื้นฐานและชุดค่านิยมในแบบอาเซียนที่อาเซียนได้ยึดถือและรับรองไว้โดย
ชัดแจ้งดังปรากฏตามกฎบัตรอาเซียนเหล่านี้เองที่จะส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมและพัฒนาการของ
อาเซียน และช่วยให้สามารถเข้าใจการทำงานของอาเซียนโดยเฉพาะการประชุมขององค์กรด้าน
กฎหมายในกรอบอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น
II. โครงสร้างของประชาคมอาเซียน
๑. ภาพรวมโครงสร้างประชาคมอาเซียน
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) หมวดที่ ๔ และ ๑๐ ได้กำหนดโครงสร้างและการดำเนินงาน
๗
ของอาเซียนไว้ คือ
(ก) ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit)
กฎบัตรอาเซียน หมวดที่ ๔ ข้อ ๗ ได้กำหนดให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน
อันประกอบไปด้วยประมุขของรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิกเป็นการประชุมสูงสุดสองครั้งต่อปี
ทำหน้าที่ตัดสินใจในการกำหนดนโยบายของอาเซียน ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่กระทบต่อ
อาเซียน และทำหน้าที่พิจารณาหารือ ให้แนวนโยบายและตัดสินใจในประเด็นสำคัญต่าง ๆ รวมถึง
ทุกประเด็นที่ได้มีการนำเสนอโดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียน คณะมนตรีประชาคมอาเซียน
และองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขา ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนยังมีอำนาจตามกฎบัตรในการสั่งการ
ให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในแต่ละคณะมนตรีที่เกี่ยวข้องจัดการประชุมเฉพาะกิจระหว่างรัฐมนตรีและ
หารือประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอาเซียนซึ่งคาบเกี่ยวระหว่างคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่าง ๆ
ในการอนุมัติจัดตั้งและยุบองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขาและสถาบันอื่น ๆ ของอาเซียนและ
ในการแต่งตั้งเลขาธิการอาเซียนภายใต้ข้อเสนอแนะของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
(ข) คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council)
กฎบัตรอาเซียน หมวดที่ ๔ ข้อ ๘ ได้กำหนดให้มีคณะมนตรีประสานงานซึ่งประกอบ
ไปด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน โดยประชุมกันอย่างน้อยสองครั้งต่อปี คณะมนตรีประสานงาน
๗ ASEAN Charter, ๑๕ December ๒๐๐๘, Art. ๗ - ๑๕
146 บทความ