Page 151 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 151
ดังนั้น บันทึกข้อตกลงโครงการมาตรการรถยนต์คันแรกที่ตกลงหากผิดสัญญา ต้อง
รับผิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ศาลจึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือในอัตราร้อยละ ๑๐
ต่อปีได้ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๐๖๕/๒๕๖๓
๑๕.๕ กรณีดอกเบี้ย มติ กยพ. ได้วางแนวไว้ว่า เนื่องด้วยข้อพิพาทเป็น
หน่วยงานราชการเหมือนกันจึงไม่คิดดอกเบี้ยให้ หากคู่กรณีที่จะต้องรับผิดมีเจตนาไม่ชำระหนี้
ก็ให้อยู่ดุลพินิจของคณะกรรมการ กยพ. ที่จะคิดดอกเบี้ยให้เพื่อเป็นบทลงโทษตามมติ กยพ.
ครั้งที่ ๗/๒๕๔๘ วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ วาระ ๓.๔ และตามมติ กยพ. ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ ในวันที่
๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ วาระที่ ๔
๑๕.๖ ชี้ขาดความเห็นแย้ง ในคดีคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อมติคณะกรรมการคุ้มครอง
ผู้บริโภค ให้พนักงานอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคดำเนินคดี หากพนักงานอัยการไม่เห็นชอบ
ตามมติดังกล่าว ต้องแจ้งฐานะคดีให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบ เพื่อทบทวนมติดังกล่าว
หากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคยืนตามมติเดิมให้ฟ้องคดี พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีตามมติ
ดังกล่าวโดยในการร่างฟ้องให้นำความเห็นและเหตุผลของมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและ
ความเห็นของอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองเรื่องราวการร้องทุกข์ฯ มาอ้างในคำฟ้อง
พนักงานอัยการจะนำระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่ง
พ.ศ. ๒๕๖๐ มาใช้ไม่ได้ (จะใช้ได้เท่าที่ไม่ขัดกับ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และ พ.ร.บ.
วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๖ และกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคเท่านั้น) โดยมีแนวคำวินิจฉัยของอัยการสูงสุด ตามหนังสือที่
อส ๐๐๐๕/ว ๓๐๕ ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เป็นแนวปฏิบัติไว้แล้ว
๑๕.๗ กรณีขอให้ดำเนินการเห็นควรเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(นส. ๓ ก.) ที่ออกโดยมิชอบ ไม่ใช่ข้อพิพาทระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ แต่เป็นข้อพิพาท
ทางแพ่งระหว่างส่วนราชการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ อธิบดีกรมที่ดินกับเอกชน อนึ่งเนื่องจาก
คำชี้ขาดของคณะกรรมการ กยพ. อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของบุคคลภายนอก ซึ่งอาจทำให้
เรื่องไม่ยุติลงในฝ่ายบริหาร กยพ. จึงไม่รับวินิจฉัยให้ส่งเรื่องคืนตัวความ ทั้งนี้หากมีหน่วยงานของรัฐ
ส่งเรื่องในลักษณะเดียวกันนี้มาอีก ก็ให้ส่งเรื่องคืนไปตามนัยเหตุผลข้างต้น ตามมติ กยพ. ครั้งที่ ๘/๒๕๔๙
เมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ วาระที่ ๓.๕
๑๕.๘ กรณีผู้ค้ำประกัน เจ้าหนี้เรียกร้องให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ร่วมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันอันเป็นสัญญาอุปกรณ์ ซึ่งการวินิจฉัยความรับผิดต้องพิจารณา
ควบคู่ไปกับความรับผิดของเอกชนคู่สัญญาตามสัญญาจ้างอันเป็นสัญญาประธาน การพิจารณา
ตัดสินชี้ขาดของคณะกรรมการ กยพ. เฉพาะในส่วนของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะ
ผู้ค้ำประกันเพียงลำพัง อาจขัดแย้งหรือมีผลกระทบต่อคดีที่ได้ยื่นฟ้องเอกชนต่อศาลดังกล่าว เมื่อมี
การยื่นฟ้องผู้ค้ำประกันไปแล้ว ให้ดำเนินการจนกว่าคดีถึงที่สุด กยพ. ไม่รับวินิจฉัยให้ โดยที่ประชุม
มีมติเป็นแนวทางปฏิบัติกรณีเกิดข้อพิพาทลักษณะดังกล่าวข้างต้น ให้ยื่นฟ้องเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
คู่กรณีต่อศาลให้ร่วมรับผิด โดยยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน
๒๕๔๐ ตามมติ กยพ. ครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ วาระที่ ๓.๕
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 141