Page 153 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 153
(Association of Southeast Asia or ASA ; ค.ศ. ๑๙๖๑ - ๑๙๖๗) สมาพันธ์รวมชนชาติมลายู
(Greater Malayan Confederation or MAPHILINDO ; ค.ศ. ๑๙๖๓)
ภายใต้หลักการพื้นฐาน (Fundamental Principles) และค่านิยมในแบบอาเซียน (ASEAN
Values) อันมีที่มาจากบริบทการก่อตั้งดังกล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งจะได้กล่าวโดยละเอียดในเนื้อหา
ลำดับถัดไปนั้น อาเซียนจึงได้มีลักษณะเป็นองค์การที่ให้ความสำคัญกับความมั่นคงและความเคารพ
๒
เอกราชและอธิปไตยของรัฐสมาชิก ซึ่งเน้นส่งเสริมความร่วมมือในแนวราบอย่างเท่าเทียมต่อ
ประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน และมิได้มีลักษณะเป็นองค์การเหนือชาติ (Supra - national
Organization) ดังเช่นสหภาพยุโรป (European Union)
ต่อมา ภายหลังจากที่บริบทโลกในช่วงสงครามเย็นได้ผ่านพ้นไป ความร่วมมือของอาเซียน
ได้ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยภายใต้บริบทโลกยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่งเส้นแบ่ง
ดินแดนของรัฐ (Territory) ค่อย ๆ ถูกทำให้เลือนรางจากความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ทั่วโลก และเวลาของรัฐในทุกทวีปต่างได้ถูกเชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกัน (Real Time) แม้อาเซียนจะยัง
คงรักษาหลักการพื้นฐานเดิมตั้งแต่ยุคก่อตั้งไว้ แต่ผู้แทนของรัฐสมาชิกต่างก็ได้เห็นประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ ที่อาเซียนมีศักยภาพจึงได้เริ่มมีแนวคิดที่จะให้อาเซียนเป็นเวทีในการสร้าง
วิสัยทัศน์ร่วมกันของเหล่ารัฐสมาชิกในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ ๙
ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓) ผู้นำรัฐสมาชิกของอาเซียนจึงได้มีมติที่จะก่อตั้ง “ประชาคมอาเซียน”
(ASEAN Community) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มลักษณะความเป็น “องค์กรเหนือชาติ”
(Supra - national Organization) ของอาเซียนในทำนองเดียวกับสหภาพยุโรป (European
Union) และในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๒ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
(ค.ศ. ๒๐๐๗) เหล่าผู้นำของรัฐสมาชิกอาเซียนจึงได้ร่วมลงนามปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัด
จัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๐๑๕ (Cebu Declaration on the Acceleration of
the Establishment of an ASEAN Community by ๒๐๑๕) เพื่อยืนยันความผูกพันในการ
๓
เร่งรัดจัดตั้งประชาคมอาเซียนดังกล่าว และเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ก็ได้มีผลใช้บังคับ
ปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) จึงถือเป็นรากฐานสำคัญในการมุ่งไปสู่การเป็น
ประชาคมอาเซียน กฎบัตรอาเซียนได้กำหนดให้อาเซียนมีสถานะเป็นบุคคลตามกฎหมายรวมถึง
กำหนดกรอบการทำงานในเชิงสถาบันขององค์กรตามกฎหมายไว้อย่างชัดเจน โดยมีความมุ่งหมาย
เพื่อเพิ่มและยกระดับความผูกมัดของรัฐสมาชิก เพิ่มและยกระดับบทบาทและความสัมพันธ์ระดับ
รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐสมาชิก เพิ่มและยกระดับบทบาทของเลขาธิการอาเซียน
จัดตั้งหน่วยงานประสานความร่วมมือภายใต้อาเซียนเพิ่มขึ้นใหม่ ส่งเสริมให้มีการประชุมระหว่าง
ผู้แทนของรัฐสมาชิกในด้านต่าง ๆ มากขึ้น และกฎบัตรดังกล่าวยังได้รวบรวมบรรทัดฐาน กฎเกณฑ์
และค่านิยมต่าง ๆ ที่อาเซียนยึดถือไว้แล้วระบุให้ชัดเจนพร้อมเพิ่มเติมค่านิยมซึ่งรัฐสมาชิกตกลงจะ
ยึดถือเป็นเป้าหมายร่วมกันเข้าไปด้วย
๒ I.B.R. Supancana, ‘The Roadmap toward the Creation of ASEAN Security Community in ๒๐๑๕: Legal
Perspectives’ (๒๐๐๘) ๑ Journal of East Asia and International Law ๓๓๑
๓ Bangkok Declaration, ๘ August ๑๙๖๗
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 143