Page 152 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 152
ผลการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมขององค์กรด้านกฎหมายในกรอบอาเซียน*
I. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียนและประชาคมอาเซียน
๑. ความเป็นมาของอาเซียนและประชาคมอาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (Association of Southeast
Asian Nations or ASEAN) ก่อตั้งขึ้น ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ (ค.ศ. ๑๙๖๗) ภายใต้
บริบทเวทีโลกในยุคสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต
(Cold War; ค.ศ. ๑๙๔๖ - ๑๙๘๙) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หลายรัฐในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เริ่มได้รับเอกราชและเผชิญความท้าทายจากปัญหาการสร้างชาติและการช่วงชิงระหว่างอุดมการณ์
ทุนนิยมเสรีและอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ในภูมิภาค โดยมีสมาชิกก่อตั้ง คือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และราชอาณาจักรไทยซึ่งต่อมา
เนการาบรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๗ วันที่ ๒๘
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒
ตามลำดับ
ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งร่วมลงนามเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐
ณ กรุงเทพมหานคร ราชอาณาจักรไทย ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การก่อตั้งอาเซียนโดยสรุปคือ
เพื่อเร่งให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาค
เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพและสันติภาพของภูมิภาค เพื่อส่งเสริมความร่วมมือเชิงรุกและความช่วยเหลือ
ระหว่างกันในด้านต่าง ๆ ที่มีผลประโยชน์ร่วม เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของ
การอำนวยความสะดวกสำหรับการฝึกอบรมและการทำวิจัยในมิติต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการศึกษา
เพื่อส่งเสริมความรู้ทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และเพื่อรักษาความร่วมมือที่ใกล้ชิดที่เกิด
ประโยชน์ในองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคและในเวทีโลกซึ่งมีวัตถุประสงค์ในลักษณะเดียวกัน ๑
แม้ว่าตามปฏิญญากรุงเทพจะได้ระบุถึงวัตถุประสงค์การก่อตั้งอาเซียนที่ครอบคลุมถึงทั้งด้าน
การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมก็ตาม ในแวดวงวิชาการกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศึกษา (Southeast Asian Studies) ก็ได้ปรากฏนักวิชาการจำนวนหนึ่งซึ่งตั้งข้อสังเกตไว้ว่า
อาเซียนนั้นแท้จริงแล้วก่อตั้งขึ้นโดยมีนัยยะทางการเมืองเป็นวัตถุประสงค์หลัก คือ ความมุ่งหมาย
ของรัฐในภูมิภาคที่เพิ่งได้รับเอกราชที่จะป้องกันไม่ให้รัฐอื่นเข้ามาแทรกแซงกระบวนการสร้างชาติ
ของตนและความไร้เสถียรภาพของภูมิภาคซึ่งเกิดจากความล้มเหลวขององค์การระดับภูมิภาคอื่นซึ่ง
ได้รับการผลักดันโดยรัฐมหาอำนาจทุนนิยมเสรีให้เป็นผู้เล่นสำคัญในการสกัดกั้นอุดมการณ์
คอมมิวนิสต์ อาทิ องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia
Treaty Organization or SEATO ; ค.ศ.๑๙๕๔ - ๑๙๗๗) สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
*
จัดทำโดย ศูนย์พันธกิจประชาคมอาเซียน (ปัจจุบัน : ศูนย์อาเซียนเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศทางกฎหมาย) ณ วันที่ ๕
มีนาคม ๒๕๖๓
๑ Bangkok Declaration, ๘ August ๑๙๖๗
142 บทความ