Page 154 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 154

ทั้งนี้ ในเชิงโครงสร้างองค์กร กฎบัตรอาเซียนได้กำหนดให้มีคณะมนตรีประชาคมอาเซียน
          โดยแบ่งประชาคมอาเซียนออกเป็น ๓ เสาหลัก (Three Pillars) ตามแนวทางของปฏิญญาเซบู คือ
          ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political - Security Community)

          ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) และประชาคมสังคมและ
          วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community) ซึ่งแต่ละเสาหลักต่างก็มีแผนงานการ
          จัดตั้ง (Blueprint) เป็นของตัวเอง ดังจะกล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป

          ๒. หลักการพื้นฐานของอาเซียนและค่านิยมในแบบอาเซียน
          
     จากการก่อตั้งขึ้นภายใต้บริบทการสร้างชาติของรัฐสมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เพิ่งได้รับเอกราชหลุดพ้น
          จากการเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจและการช่วงชิงกันระหว่างโลกทุนนิยมเสรีและ
          โลกคอมมิวนิสต์ดังกล่าวข้างต้น อาเซียนจึงก่อตั้งขึ้นมาบนหลักการพื้นฐาน คือ การไม่แทรกแซง
          (Non - Interference) การตัดสินใจโดยยินยอมพร้อมใจและอาศัยฉันทามติ (Consensus

          Decision Making) ความไม่เป็นทางการ (Informality) และการหลีกเลี่ยงความเป็นสถาบันเกิน
          ส่วน (Avoidance of Excessive Institution) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นแนวปฏิบัติของรัฐสมาชิก
          อาเซียน เรียกว่า “ASEAN Way” ๔
          

    หลักการและแนวปฏิบัติดังกล่าวนั้น ได้รับการรองรับและยืนยันให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๙
          (ค.ศ. ๑๙๗๖) ภายใต้สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
          (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia) ซึ่งระบุให้รัฐสมาชิกอาเซียนยึดถือ
                                  ๕
          หลักการพื้นฐานเป็นแนวทาง  คือ
                (๑) การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดน และ
                   อัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
                (๒) สิทธิของทุกรัฐที่จะธำรงประชาชาติของตนโดยปราศจากการแทรกแซง การบ่อนทำลาย
                   และการบังคับจากภายนอก
                (๓) การไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน
                (๔) การระงับความแตกต่างและข้อพิพาทโดยสันติวิธี
                (๕) การไม่ข่มขู่ว่าจะใช้กำลังหรือใช้กำลัง และ
                (๖) ความร่วมมือระหว่างกันที่มีประสิทธิภาพ
          

    ต่อมา เมื่อได้มีการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)

          แม้กฎบัตรอาเซียนดังกล่าวจะเน้นในเรื่องของการมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของรัฐสมาชิกรวมถึงผล
          ประโยชน์ร่วมกันในมิติทางเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมมากขึ้นกว่าเดิมซึ่งอาเซียนอยู่ภายใต้
          บริบทการเมืองโลกยุคสงครามเย็นและการได้รับเอกราชของรัฐสมาชิกก็ตาม แต่หลักการพื้นฐานที่
          กฎบัตรอาเซียนได้รองรับไว้ก็ยังคงไม่อาจหลุดพ้นไปจากหลักการพื้นฐานและแนวปฏิบัติที่สืบมานับ



          ๔  Johan Saravanamuttu, ‘Wither the ASEAN Security Community? Some Reflections’ (๒๐๐๕) ๑ International
           Journal of Asia Pacific Studies ๔๖-๔๗
          ๕ 
Cebu Declaration on the Acceleration of the Establishment of an ASEAN Community by ๒๐๑๕, ๑๓ January ๒๐๐๓



              144   บทความ
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159