Page 157 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 157

อาเซียนมีหน้าที่หลักด้านการเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียน การประสานการอนุวัติความตกลง
                และการตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน การประสานงานกับคณะมนตรีประชาคมอาเซียน
                ต่าง ๆ การพิจารณารายงานของเลขาธิการอาเซียน การเห็นชอบการแต่งตั้งและพ้นจากหน้าที่ของ

                รองเลขาธิการอาเซียนตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการอาเซียน รวมถึงปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่
                กฎบัตรอาเซียนกำหนด หรือหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
                       (ค) คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Councils)
                         กฎบัตรอาเซียน หมวดที่ ๔ ข้อ ๙ ได้กำหนดให้มีคณะมนตรีประชาคมอาเซียน
                ประชุมกันอย่างน้อยสองครั้งต่อปี แบ่งตามเสาหลักทั้งสามของประชาคมอาเซียน คือ คณะมนตรี
                ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรี
                ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  โดยแต่ละคณะจะมีองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียน
                เฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องในขอบข่ายการทำงานของตน
                          คณะมนตรีประชาคมอาเซียนมีหน้าที่ทำให้แน่ใจว่ามีการอนุวัติการข้อตัดสินใจของที่

                ประชุมสุดยอดอาเซียนที่เกี่ยวข้อง ประสานการปฏิบัติงานของสาขาต่าง ๆ ที่อยู่ในขอบข่ายของตน
                และนำเสนอรายงานและข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในขอบข่าย
                การทำงานของตน
                
    
 (ง)  องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies)
                         กฎบัตรอาเซียน หมวดที่ ๔ ข้อ ๑๐ ได้กำหนดให้องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียน

                เฉพาะสาขาตามข้อ ๙ ดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรที่มีอยู่ อนุวัติการความตกลง
                และข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่อยู่ในขอบข่ายของตน เสริมสร้างความร่วมมือ
                ในแต่ละสาขาให้เข้มแข็งขึ้นเพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียนและการสร้างประชาคมอาเซียน
                โดยให้เสนอรายงานและข้อเสนอแนะต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียนของแต่ละองค์กร

                         ทั้งนี้ องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาแต่ละองค์กรอาจมีเจ้าหน้าที่อาวุโส
                และองค์กรย่อยที่เกี่ยวข้องในขอบข่ายการดำเนินงานของตน (Relevant senior officials and
                subsidiary bodies) ตามที่ระบุในภาคผนวก ๑ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานได้ โดยภาคผนวก ๑
                ดังกล่าวนั้น กฎบัตรอาเซียนได้ให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนปรับปรุงให้ทันสมัยได้ตามข้อเสนอแนะ

                ของคณะกรรมการผู้แทนถาวรโดยไม่ต้องใช้บทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขภายใต้กฎบัตรอาเซียน
                ตามหมวดที่ ๑๓ ข้อ ๔๘
                       (จ)  เลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน (Secretary - General of ASEAN
                and ASEAN Secretariat)

                         กฎบัตรอาเซียน หมวดที่ ๔ ข้อ ๑๑ ได้กำหนดให้มีเลขาธิการอาเซียนซึ่งได้รับการ
                แต่งตั้งโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๕ ปี ไม่สามารถต่ออายุได้
                ซึ่งได้รับการเลือกจากคนชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนบนพื้นฐานของการหมุนเวียนตามลำดับตัวอักษร
                เลขาธิการอาเซียนมีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกและสอดส่องดูแลความคืบหน้าในการอนุวัติ

                การความตกลงและข้อตัดสินใจของอาเซียน โดยเสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับงานของอาเซียน
                ต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน เลขาธิการอาเซียนมีหน้าที่เข้าร่วมการประชุมทุกประเภทของอาเซียน




                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  147
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162