Page 155 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 155

แต่ยุคก่อตั้งได้ ดังจะเห็นได้จากกฎบัตรอาเซียน ข้อ ๒ ซึ่งกำหนดให้อาเซียนและรัฐสมาชิกอาเซียน
                                         ๖
                ต้องปฏิบัติตามหลักการต่อไปนี้  คือ
                     (ก)  การเคารพเอกราช อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดน และอัตลักษณ์แห่ง

                         ชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
                     (ข)  ความผูกพันและความรับผิดชอบร่วมกันในการเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคง และความมั่งคั่ง
                         ของภูมิภาค
                     (ค)  การไม่ใช้การรุกรานและการข่มขู่ว่าจะใช้หรือการใช้กำลังหรือการกระทำอื่นใดใน
                         ลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
                     (ง)  การอาศัยการระงับข้อพิพาทโดยสันติ
                     (จ)  การไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน
                     (ฉ)  การเคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธำรงประชาชาติของตนโดยปราศจากการ
                         แทรกแซง การบ่อนทำลาย และการบังคับจากภายนอก

                     (ช)  การปรึกษาหารือที่เพิ่มพูนขึ้นในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกัน
                         ของอาเซียน
                     (ซ)  การยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม  ธรรมาภิบาล  หลักการประชาธิปไตยและรัฐบาล
                         ตามรัฐธรรมนูญ
                     (ฌ) การเคารพเสรีภาพพื้นฐาน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการส่งเสริม
                         ศีลธรรมทางสังคม
                     (ญ) การยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศรวมถึงกฎหมาย

                         มนุษยธรรมระหว่างประเทศที่รัฐสมาชิกอาเซียนยอมรับ
                     (ฎ)  การละเว้นจากการมีส่วนร่วมในนโยบายหรือกิจกรรมใด ๆ รวมถึงการใช้ดินแดนของตน
                         ซึ่งดำเนินการโดยรัฐสมาชิกอาเซียนหรือรัฐที่มิใช่สมาชิกอาเซียนหรือผู้กระทำที่ไม่ใช่รัฐ
                         ใด ๆ ซึ่งคุกคามอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน หรือเสถียรภาพทางการเมืองและ
                         เศรษฐกิจของรัฐสมาชิกอาเซียน
                     (ฏ)  การเคารพในวัฒนธรรม ภาษาและศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน โดยเน้น
                         คุณค่าร่วมกันของประชาชนอาเซียนด้วยจิตวิญญาณของเอกภาพในความหลากหลาย
                     (ฐ)  ความเป็นศูนย์รวมของอาเซียนในความสัมพันธ์ภายนอกทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
                         และวัฒนธรรม โดยคงไว้ซึ่งความมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน การมองไปภายนอก การไม่ปิดกั้น

                         และการไม่เลือกปฏิบัติ และ
                     (ฑ) การยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียนซึ่งมีกฎเป็นพื้นฐานสำหรับการ
                         ปฏิบัติตามข้อผูกพันทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และการลดลงอย่างค่อยเป็น
                         ค่อยไปเพื่อขจัดอุปสรรคทั้งปวงต่อการรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ในระบบ
                         เศรษฐกิจซึ่งขับเคลื่อนโดยตลาด





                ๖  ASEAN Charter, ๑๕ December ๒๐๐๘, Chapter IV, X




                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  145
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160