Page 150 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 150

๑๕. นอกจากนี้มติคณะกรรมการ กยพ. ได้วางแนวปฏิบัติตามมติ กยพ. เพื่อใช้ปฏิบัติงาน
          พอสังเขป ได้ดังนี้
                       ๑๕.๑  คณะกรรมการ กยพ. จะไม่รับวินิจฉัยให้กรณีที่คำวินิจฉัยอาจกระทบส่วน

          ได้เสียของบุคคลภายนอก หรือได้มีการฟ้องคดีในศาลแล้ว ตามมติ กยพ. ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑ เมื่อวันที่
          ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑ วาระที่ ๓.๑๒
                       ๑๕.๒  กรณีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เมื่อหน่วยงานทางปกครองได้ออก
          คำสั่งให้เจ้าหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแล้ว หากเจ้าหน้าที่ที่รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม หน่วยงานของรัฐ
          ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕๗ เพื่อยึดหรือ
          อายัดทรัพย์สินออกขายทอดตลาด เพื่อชำระหนี้ (ปัจจุบันเป็นมาตรา ๖๓/๑๘ แก้ไขเพิ่มเติม
          โดยมาตรา ๕ แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒) ไม่จำเป็นต้องฟ้อง
          ศาลปกครองเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้ ตามนัยคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ๑๔๘๑๐/๒๕๕๙
          มติ กยพ. ไม่รับฟ้องคดีให้ ตามมติครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ วาระที่ ๓.๓

                    ต่อมามีแนวคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ คผ.๘๖/๒๕๖๓ กลับหลักหากหน่วยงานทาง
          ปกครองใช้มาตรการทางปกครองแล้วเกิดขัดข้อง ไม่ตัดสิทธิจะใช้สิทธิทางศาลที่จะเสนอข้อพิพาท
          เพื่อให้บังคับใช้กฎหมายสัมฤทธิ์ผลได้ ทั้งยังประโยชน์ต่อคู่กรณีเพื่อให้คุ้มครองและรับรองสิทธิ
          โดยศาลปกครอง (ยังไม่มีคำวินิจฉัย ที่ประชุมใหญ่ของศาลปกครองสูงสุด)
                       ๑๕.๓  กรณีที่คดีใกล้จะขาดอายุความอยู่ระหว่างการพิจารณาชี้ขาดของ
          คณะกรรมการ กยพ. เมื่อได้ยื่นฟ้องคดีไปก่อน ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการ
          ดำเนินคดีแพ่งของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๑๒ และตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

          ว่าด้วยการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี พ.ศ. ๒๕๖๑
          ข้อ  ๒๔  วรรคท้าย  มติ  กยพ.  จะไม่รับพิจารณาให้  เมื่อได้ยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว  ไม่ต้องให้
          คณะกรรมการ กยพ. วินิจฉัยชี้ขาดอีก ตามมติ กยพ. ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒
          วาระ ๓.๒
                       ๑๕.๔  กรณีชี้ขาดความเห็นแย้ง กรมสรรพสามิตขอให้พนักงานอัยการฟ้องคดี
          ลูกหนี้ผิดนัด กรณีรถยนต์คันแรกตามนโยบายรัฐบาล โดยคิดดอกเบี้ยผิดนัด โดยนับวันแรกเป็นการ
          ผิดนัดโดยอ้างบันทึกข้อตกลงซื้อรถคันแรกที่ลงชื่อและระเบียบกระทรวงการคลัง พนักงานอัยการ
          มีความเห็นว่า การคิดดอกเบี้ยผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๑ หากคู่สัญญาไม่ได้ตกลงเป็นอย่างอื่น
          หรือไม่ได้กำหนดให้เป็นเวลาเริ่มต้นทำงานตามประเพณี การนับระยะเวลาเริ่มต้นไม่ให้นับวันแรก

          เป็นระยะเวลาเริ่มต้น โดยการที่ลูกหนี้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงรถยนต์คันแรกยังไม่ถือว่าเป็นการ
          ตกลงเป็นอย่างอื่น ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๖๕๒/๒๕๖๐, ๒๒๒๖/๒๕๖๐, ๓๓๒/๒๕๖๔
          ตามมติ กยพ. ม.๒/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓ วาระที่ ๓.๖
                  ต่อมาศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า การตกลงเรื่องดอกเบี้ยแม้จะชอบด้วย
          กฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่งก็ตาม แต่การคิดดอกเบี้ยเนื่องจากการไม่ชำระหนี้
          ถือเป็นข้อตกลงกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๗๙ ศาลมีอำนาจที่จะปรับลดเบี้ย
          ปรับที่สูงเกินส่วนลงได้เป็นจำนวนพอสมควร ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๘๓ วรรคหนึ่ง





              140   บทความ
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155