Page 146 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 146

๕. เมื่อคณะกรรมการ กยพ. วินิจฉัยชี้ขาดคำชี้ขาดเป็นที่สุด สำนักงานอัยการสูงสุดจะแจ้งให้
          คู่กรณีปฏิบัติตามคำชี้ขาด หากคู่กรณีไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด ประธาน กยพ. (รมต.ว่าการกระทรวงยุติธรรม)
          จะมีหนังสือถึง รมต. เจ้าสังกัดที่หน่วยงานนั้นสังกัดอยู่ให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาด หากยังเพิกเฉย

          ประธาน กยพ. จะเสนอเรื่องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการต่อไป (ระเบียบ ข้อ ๑๗)
                ๖. คำชี้ขาดของ กยพ. หากมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของบุคคลภายนอกซึ่งไม่อาจยุติได้
          โดยฝ่ายบริหาร คณะกรรมการ กยพ. จะไม่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ (ระเบียบ ข้อ ๑๘)
                ๗. การทบทวนคำชี้ขาด กยพ. จะทำได้ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญและไม่อาจเสนอ
          ได้ก่อนการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการ กยพ. (ระเบียบ ข้อ ๑๙)
                ๘. หน่วยงานของรัฐมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่กับเอกชนทางแพ่งหรือต้องใช้สิทธิใน
          ทางศาลให้ส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการ เว้นแต่
                หน่วยงานของรัฐที่ดำเนินธุรกิจการค้าหรือการบริการเป็นปกติธุระและมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับ
          ธุรกิจการค้าหรือบริการ จะดำเนินคดีเองโดยไม่ต้องส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินคดีให้ก็ได้

          นอกจากนี้เมื่อส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีให้แล้ว หน่วยงานของรัฐอาจว่าจ้างให้ผู้เชี่ยวชาญ
          เฉพาะด้านเพื่อช่วยดำเนินคดีก็ได้
                หากจะต้องใช้ความรู้ทางด้านเทคนิคเฉพาะอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดี หรือดำเนินคดี
          ในต่างประเทศ หน่วยงานของรัฐสามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านดำเนินคดีได้ (ระเบียบ ข้อ ๒๑)
                ๙. ในการดำเนินคดี หากพนักงานอัยการเห็นว่าหน่วยงานของรัฐอยู่ในฐานะเสียเปรียบหรือ
          การดำเนินคดีไม่ก่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ให้พนักงานอัยการแจ้งฐานะคดีและความเห็นยุติเรื่อง
          ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณา หากหน่วยงานของรัฐเห็นพ้องด้วย ให้การดำเนินคดีเรื่องนี้เป็นอันยุติ

          (ระเบียบ ข้อ ๒๒)
                กรณีหน่วยงานของรัฐมีความเห็นแย้งพนักงานอัยการ หากอัยการสูงสุดเห็นพ้องด้วยกับ
          หน่วยงานของรัฐก็ให้ดำเนินคดีต่อไป หากอัยการสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วยก็ให้นำเสนอคณะกรรมการ กยพ.
          ชี้ขาด หากคณะกรรมการ กยพ. เห็นพ้องด้วยกับความเห็นอัยการสูงสุด มติคณะกรรมการ กยพ.
          ผูกพันหน่วยงานของรัฐ หากคณะกรรมการ กยพ. เห็นควรให้ดำเนินการต่อไป ให้อัยการสูงสุด
          พิจารณาดำเนินการตามมติ กยพ.
                คดีที่จะขาดอายุความให้พนักงานอัยการฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความโดยไม่ต้องรอผล
          การชี้ขาดของคณะกรรมการ กยพ. (ระเบียบ ข้อ ๒๓)
                ในข้อพิพาทที่เกี่ยวกับคดีปกครองหรือคดีอนุญาโตตุลาการให้นำระเบียบนี้มาใช้ด้วย

          (ระเบียบ ข้อ ๒๖)
                ๑๐. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายก
          หนังสือเวียนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๗/ว ๓๑๒ ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๒
          กำหนดให้การดำเนินการเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกรณีคดีใกล้ขาดอายุความหรือ
          ใกล้กำหนดฟ้องคดี ยังไม่สามารถส่งข้อพิพาทให้สำนักงานอัยการสูงสุด ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มี
          การรับสภาพหนี้เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย
                ๑๑. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๑เกี่ยวกับการดำเนินคดีมีหนังสือเวียน

          สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุดที่ นร ๐๕๐๕/ว๒๒๑ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑



              136   บทความ
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151