Page 142 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 142

เป็นต้นไป จึงอาจเกิดปัญหาเรื่องกฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลัง
          การกระทำความผิด  อย่างไรก็ดี การกระทำความผิดในช่วงเวลาต่างกันอาจมีข้อพิจารณาที่แตกต่างกัน

          ในรายละเอียด จำแนกได้ดังนี้
                  ๑.  กรณีหากมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว
          พ.ศ. ๒๕๕๑ ในช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
          พ.ศ. ๒๕๖๐ จะมีผลใช้บังคับ และปรากฏว่าคดีขาดอายุความไปก่อนที่พระราชกำหนดการบริหาร
          จัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ จะมีผลใช้บังคับ สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้อง
          ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๖) เข้าเงื่อนไขระงับคดี

          ที่ต้องสั่งยุติการดำเนินคดีเพราะเหตุคดีขาดอายุความตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ (๖)
          (ปัจจุบันตรงกับระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ (๗)) ดังนั้น พระราชกำหนดการบริหารจัดการการ
          ทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐
          เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ลงวันที่
          ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ จึงไม่เป็นประเด็นให้ต้องพิจารณาในกรณีนี้

                  ๒.  กรณีหากมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว
          พ.ศ. ๒๕๕๑ ในช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
          พ.ศ. ๒๕๖๐ จะมีผลใช้บังคับ และคดียังไม่ขาดอายุความ โดยเป็นความผิดที่ตรงกันกับตาม
          พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๘ (ซึ่งมีระวางโทษ
          ตามมาตรา ๑๐๑), มาตรา ๙ (ซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา ๑๐๒), มาตรา ๗๒ (ซึ่งมีระวางโทษตาม
          มาตรา ๑๒๒), มาตรา ๑๑๙ (ซึ่งเป็นทั้งบทความผิดและระวางโทษ) ซึ่งพระราชกำหนดการบริหาร

          จัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้บัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติการทำงานของ
          คนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐
          กำหนดให้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๐๑,
          ๑๐๒, ๑๑๙, ๑๒๒ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป แนวทางการพิจารณา
          จะเป็นทำนองเดียวกันกับตามคำชี้ขาดความเห็นแย้ง สำนวนเลขรับที่ ชย.๑๕๖/๒๕๖๐ กล่าวคือ

          เป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด
          ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโทษ จึงต้องใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
          พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกอบคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ ที่ไม่มีโทษที่จะลง
          แก่ผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา
          มาตรา ๓ จึงเป็นกรณีมีกฎหมายยกเว้นโทษ ซึ่งมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม
          ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๗) เข้าเงื่อนไขระงับคดีที่ต้องสั่งยุติ

          การดำเนินคดี ตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ (๗) (ปัจจุบันตรงกับระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓
          ข้อ ๔๘ (๘))
                  ๓. กรณีหากมีการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของ
          คนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๘ (ซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา ๑๐๑), มาตรา ๙ (ซึ่งมีระวางโทษ

          ตามมาตรา ๑๐๒), มาตรา ๗๒ (ซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา ๑๒๒), มาตรา ๑๑๙ (ซึ่งเป็น



              132   บทความ
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147