Page 137 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 137

ก่อนวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ ซึ่งอยู่ในระหว่างที่พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว
                พ.ศ. ๒๕๕๑ ยังมีผลใช้บังคับ เป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมาย

                ที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโทษ จึงต้องใช้พระราชกำหนดดังกล่าว
                ประกอบคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวที่ไม่มีโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด
                ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓ การกระทำ
                ความผิดทั้งสองช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่มีกฎหมายยกเว้นโทษ อันเป็นเงื่อนไขระงับคดี
                ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๗
                ข้อ ๕๔ วรรคสอง (๗) ซึ่งข้อ ๕๔ วรรคสาม กำหนดให้พนักงานอัยการสั่งยุติการดำเนินคดี
                                                                                         ๗
                       (๑๒)  หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส ๐๐๐๗ (พก)/ว ๔๔๓ ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๐
                เรื่อง กำหนดแนวทางในการดำเนินการกับสำนวนการสอบสวนที่เด็กอายุยังไม่เกินสิบปีเป็นผู้ต้องหา
                ว่ากระทำความผิด
                       ตามที่มีหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด  ที่  อส  ๐๐๐๗  (พก)/ว  ๑๙๓  ลงวันที่
                ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ยกเลิกแนวทางปฏิบัติตามหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ด่วนที่สุด

                ที่ อส ๐๐๒๗ (ปผ)/ว ๑๒๗ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เรื่อง แนวทางปฏิบัติตามพระราช
                บัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ ในข้อ ๒
                การรับสำนวนการสอบสวนคดีอาญาที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบปี และข้อ ๓ การพิจารณา
                สั่งคดีอาญาที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบปี เนื่องจากพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว
                และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๙ ได้ยกเลิกความใน
                มาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ

                ครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน นั้น  ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงว่า พนักงาน
                สอบสวนได้ส่งสำนวนการสอบสวนคดีอาญาที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบปีมายังสำนักงานคดี
                เยาวชนและครอบครัวและสำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเพื่อให้พนักงานอัยการ
                พิจารณา สำนักงานอัยการสูงสุดจึงกำหนดแนวทางปฏิบัติให้สำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัว
                และสำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัด รับสำนวนการสอบสวนที่พนักงานสอบสวนได้ส่งมา

                ไว้พิจารณาดำเนินการ และให้พนักงานอัยการใช้ดุลพินิจพิจารณาสำนวนการสอบสวน เมื่อ
                พิจารณาสำนวนการสอบสวนดังกล่าวแล้วเห็นว่าผู้ต้องหาเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบปีได้กระทำการ
                อันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด  ให้พนักงานอัยการสั่งคดีว่า “ผู้ต้องหาเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบปี
                กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดแต่เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
                มาตรา ๗๓ จึงสั่งยุติการดำเนินคดี” โดยไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๑๔๕ หรือ ๑๔๕/๑ แห่งประมวล
                กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ถ้าพนักงานอัยการพิจารณาสำนวนการสอบสวนดังกล่าวแล้ว

                เห็นว่าผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบปีไม่ได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดให้มี
                คำสั่งไม่ฟ้องต่อไป

                ๗  ก่อนหน้านี้ มีหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส ๐๐๐๗/ว ๒๘๒ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เรื่อง แนวทางในการดำเนินคดีใน
                 ความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ แจ้งข้อมูลกรณีสำนักงานศาลยุติธรรมเผยแพร่
                 ข้อสังเกตเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวว่ามีความเห็นทางกฎหมายเป็น ๒ แนวทาง




                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  127
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142