Page 133 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 133

ดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๕
                สำหรับกรณีที่มีกฎหมายนิรโทษกรรมเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                มาตรา ๓๙ (๕) ไม่ใช่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๗)
                       (๒)  หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด  ที่  อส  (สฝปผ.)  ๐๐๑๘/ว  ๒๕  ลงวันที่
                ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ เรื่อง หารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอายุความตามมาตรา ๔๖ ตรี
                แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕
                       ด้วยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือที่  นร  ๐๖๐๑/๙๑๕  ลงวันที่
                ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ แจ้งผลการพิจารณาเรื่องที่กรมตำรวจได้หารือปัญหาข้อกฎหมายซึ่งกรม

                ตำรวจมีความเห็นแตกต่างไปจากความเห็นของอัยการสูงสุดกรณีอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งยุติ
                การดำเนินคดีเพราะเหตุขาดอายุความ โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย
                คณะที่ ๖) ได้พิจารณาปัญหาข้อหารือดังกล่าวแล้วมีความเห็นว่า การสั่งยุติการดำเนินคดี
                ของพนักงานอัยการเป็นการสั่งคดีเพราะมีเหตุและเงื่อนไขตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลกฎหมายวิธี
                พิจารณาความอาญา ที่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปก่อนที่จะพิจารณาในเนื้อหาคดี

                การสั่งคดีเช่นนี้จึงไม่ใช่คำสั่งไม่ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๓
                การที่สิทธินำคดีอาญามาฟ้องต้องระงับไปเพราะเหตุขาดอายุความตามมาตรา  ๓๙  (๖)
                แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นไปโดยผลของกฎหมาย มิได้เกิดจากคำสั่งยุติ
                การดำเนินคดีของพนักงานอัยการ  สำนักงานอัยการสูงสุดเห็นว่าเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับแนวทาง
                ปฏิบัติของพนักงานอัยการจึงแจ้งให้พนักงานอัยการทราบทั่วกัน
                       (๓)  หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ด่วนที่สุด ที่ อส (สฝปผ.) ๐๐๑๘/ว ๔๖ ลงวันที่

                ๓๑ มกราคม ๒๕๔๖ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
                       สำนวนการสอบสวนคดีฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หากคณะอนุกรรมการฟื้นฟู
                สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแจ้งผลการตรวจพิสูจน์ให้พนักงานอัยการทราบว่าผู้ต้องหาเป็นผู้เสพ
                หรือติดยาเสพติด และพนักงานอัยการเห็นว่าผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
                ให้พนักงานอัยการมีคำสั่ง “ชะลอการฟ้องไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับแจ้งผลการฟื้นฟูสมรรถภาพ

                ผู้ติดยาเสพติดจากคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด” โดยไม่ต้องมีคำสั่งฟ้อง
                ผู้ต้องหาก่อน และหากต่อมาได้รับแจ้งจากคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่า
                ผู้ต้องหาได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามที่กำหนดและผลการฟื้นฟู
                สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นที่พอใจแล้วให้พนักงานอัยการมีคำสั่งว่า “ยุติการดำเนินคดีเพราะ
                                                 ๔
                กฎหมายถือว่าผู้ต้องหาพ้นจากความผิด”  และให้นำระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญา
                ของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๘ ข้อ ๒๙ วรรคสาม และวรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ



                ๔  พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เมื่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟู
                 สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดวินิจฉัยว่าผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดผู้ใดได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบถ้วน
                 ตามที่กำหนดในแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นที่พอใจแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้น
                 พ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา ๑๙ และให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไป
                 แล้วแจ้งผลให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการซึ่งยังดำเนินคดีอยู่ทราบ แล้วแต่กรณี”




                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  123
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138