Page 128 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 128

๒. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙
                  บัญญัติว่า “สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

                  (๑)  โดยความตายของผู้กระทำผิด
                    (๒)  ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้อง
          ตามกฎหมาย
                  (๓)  เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗
                  (๔)  เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
                  (๕)  เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น

                  (๖)  เมื่อคดีขาดอายุความ
                  (๗)  เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ”
          
     ๓. ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ
          พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ การออกคำสั่งกรณีสิทธิฟ้องคดีอาญาระงับ
          
     
 “ในการพิจารณาสำนวนการสอบสวน ให้พนักงานอัยการพิจารณาเรื่องเงื่อนไขระงับคดีก่อน

          และพนักงานอัยการพึงระมัดระวังในเรื่องเงื่อนไขระงับคดีตลอดเวลาการดำเนินคดี
                  เงื่อนไขระงับคดี ได้แก่
                  (๑)  ผู้กระทำความผิดถึงแก่ความตาย
                  (๒)  ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้อง
          ตามกฎหมาย
                  (๓)  คดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗ (๑) และ (๔) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                  (๔)  คดีเลิกกันตามมาตรา  ๓๗  (๒)  และ (๓) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
          ความอาญา  ๑
                  (๕)  เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
                  (๖)  เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น
                  (๗)  เมื่อคดีขาดอายุความ

                  (๘)  เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ
                  (๙)  เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัวและมิได้ร้องทุกข์ตามระเบียบ


          ๑   ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๗ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธี
          พิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๒๙ มาตรา ๓) บัญญัติว่า “คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้
                (๑) ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
          ก่อนศาลพิจารณา
                (๒) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่าง
          สูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เมื่อผู้ต้องหาชำระ
          ค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว
              (๓) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูง
          ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งเกิดในกรุงเทพมหานคร เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป
          หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการในตำแหน่งนั้นๆ ได้เปรียบเทียบแล้ว
              (๔) ในคดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว”



              118   บทความ
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133