Page 129 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 129
(๑๐) เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัวและผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้ว ไม่ว่าจะได้ยื่นฟ้อง
ก่อนหรือหลังจากที่พนักงานอัยการได้รับสำนวนการสอบสวน และไม่ว่าคดีที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้อง
แล้วนั้นศาลจะพิพากษาแล้วหรือไม่
(๑๑) เมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีนั้นแล้ว และไม่มีหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีซึ่ง
น่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้
(๑๒) มีเหตุสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามกฎหมายอื่น
กรณีที่คดีใดมีเงื่อนไขระงับคดีดังกล่าวในวรรคสองนอกจาก (๔) ให้พนักงานอัยการสั่งคดีว่า
“ยุติการดำเนินคดีเพราะ... (ระบุเงื่อนไขระงับคดีหรือเหตุตามกฎหมายอื่น)...” โดยไม่ต้องปฏิบัติ
ตามมาตรา ๑๔๕ หรือมาตรา ๑๔๕/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมาย
เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอื่น
กรณีที่คดีใดมีเงื่อนไขระงับคดีในวรรคสอง (๔) ให้พนักงานอัยการดำเนินการตาม
หลักการปฏิบัติและการสั่งคดีเปรียบเทียบตามข้อ ๗๙ และข้อ ๘๐
การสั่งยุติการดำเนินคดีในวรรคสาม ให้หัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณาออกคำสั่ง
แล้วเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาถัดขึ้นไปหนึ่งชั้นทราบโดยเร็ว
เพื่อประโยชน์ในการสั่งคดีตามข้อนี้ พนักงานอัยการมีอำนาจสั่งสอบสวนเพิ่มเติมหรือสั่ง
ให้ส่งพยานมาเพื่อซักถามได้
เมื่อมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีตามวรรคสามแล้ว ให้พนักงานอัยการแจ้งคำสั่งยุติ
การดำเนินคดีแก่พนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งให้ผู้ต้องหาและผู้ร้องทุกข์ทราบโดยเร็ว
ถ้าความปรากฏภายหลังว่าเหตุในการออกคำสั่งตามข้อนี้ไม่ถูกต้องหรือมีเหตุที่ต้อง
เพิกถอนคำสั่ง ให้หัวหน้าพนักงานอัยการทำความเห็น แล้วส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปให้
อธิบดีอัยการเป็นผู้พิจารณาสั่งเพิกถอนคำสั่งนั้น เว้นแต่อธิบดีอัยการเป็นผู้ออกคำสั่ง ให้ทำความเห็น
เสนอสำนวนตามลำดับชั้นถึงอัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุดผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาสั่ง” ๒
หมายเหตุเพื่ออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วย
การดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘
๑. ระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๑) (๒) (๕) (๖) (๗) (๘) มีข้อความตรงกัน
กับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๑) (๒) (๔) (๕) (๖) (๗) จึงเป็นที่เข้าใจได้
ชัดเจนอยู่แล้ว คงมีข้อที่จำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติมคือ ระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง
(๓) (๔) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒)
๒. ระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๓) (คดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗ (๑) และ
(๔) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา) และระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง
(๔) (คดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗ (๒) และ (๓) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา)
มีข้อน่าสังเกตดังนี้
๒ อนึ่ง ถ้อยคำในระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ ส่วนที่ได้ขีดเส้นใต้ข้างต้น เป็นส่วนที่แตกต่างจากในระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 119