Page 131 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 131
๓
พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๘๖, ๘๗ (การสั่งคดีเปรียบเทียบ) นั้น ไม่สอดคล้องกับตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓
ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๓) และวรรคสาม ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ว่า กรณีคดีซึ่งเปรียบเทียบได้
ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๗ (๔) จะไม่ใช่การสั่งคดีเปรียบเทียบ
แต่พนักงานอัยการจะพิจารณาสั่งยุติการดำเนินคดี
๓. ระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๙) “เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัวและ
มิได้ร้องทุกข์ตามระเบียบ” ซึ่งตรงกันกับตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ วรรคสอง (๘) แม้มิได้
ระบุไว้โดยตรงในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ แต่จากการที่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๒๑ วรรคสอง บัญญัติว่า “แต่ถ้าเป็นคดีความผิด
ต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ” จึงเท่ากับว่า พนักงานสอบสวน
ไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนั้น พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา ๑๒๐ กรณีนี้ทั้งตาม
ระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ วรรคสอง (๘) และระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง
(๙) จึงกำหนดให้เป็นเงื่อนไขระงับคดีที่จะต้องสั่งยุติการดำเนินคดี อย่างไรก็ดี หากพ้นกำหนด
อายุความร้องทุกข์ในความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๖ ถือเป็นกรณี
ขาดอายุความซึ่งเข้าเงื่อนไขระงับคดีตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๗) ด้วย
จึงอาจต้องพิจารณาว่า เงื่อนไขระงับคดีกรณีใดเกิดขึ้นก่อนย่อมต้องเข้าเงื่อนไขระงับคดีกรณีนั้น
๔. ระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๑๐) “เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัวและ
ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีนั้นเองแล้ว” ซึ่งตรงกันกับตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ วรรคสอง
(๙) มีที่มาคือ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๑ บัญญัติว่า “คดีอาญาที่
มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้ว พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์
ในระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดก็ได้” อันแสดงว่า กฎหมายมิได้ให้พนักงานอัยการเข้าร่วมเป็นโจทก์
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว อีกทั้งในคดีความผิดต่อส่วนตัวนั้นผู้เสียหายจะยอมความในเวลาใดก่อน
คดีถึงที่สุดก็ได้ และถ้าผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีนั้นเองจะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ตาม
มาตรา ๓๕ วรรคสอง นอกจากนี้เมื่อผู้เสียหายถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัวแล้วพนักงานอัยการ
ก็ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนั้นต่อไปตามมาตรา ๓๖ (๓) จึงเป็นที่เห็นได้ว่าไม่มีเหตุผลสมควรใด ๆ ที่จะให้
พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัวที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องเองแล้ว กรณีนี้ทั้งตามระเบียบฯ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ วรรคสอง (๙) และระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๑๐) จึงกำหนด
ให้เป็นเงื่อนไขระงับคดีที่จะต้องสั่งยุติการดำเนินคดี
๕. ระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๑๑) “เมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีนั้นแล้ว
และไม่มีหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้” ซึ่งตรงกันกับ
ตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ วรรคสอง (๑๐) มีที่มาคือ กรณีดังกล่าวเป็นการต้องห้ามมิให้
สอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๔๗ พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีนั้นตามมาตรา ๑๒๐ ดังนั้น กรณีดังกล่าว
๓ อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๓ พุทธศักราช ๒๕๖๑ หน้า ๑๖ - ๑๘
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 121