Page 135 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 135
ในกรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาและ
ศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชน
และครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ หากหัวหน้าพนักงานอัยการ
เห็นชอบตามคำสั่งศาล ให้มีคำสั่งยุติการดำเนินคดี หากไม่เห็นชอบให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเพื่อ
ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป
ในกรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวเห็นว่าตามพฤติการณ์แห่งคดียังไม่สมควรมีคำพิพากษา
และศาลได้มีคำสั่งยุติคดีตามมาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๓ แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและ
ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ หากหัวหน้าพนักงานอัยการ
เห็นชอบตามคำสั่งศาล ให้มีคำสั่งยุติการดำเนินคดี หากไม่เห็นชอบ ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
เพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไป เว้นแต่เป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์
(๘) หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส ๐๐๐๗ (พก)/ว ๓๐๕ ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘
เรื่อง หารือปัญหาข้อขัดข้องอันเกิดจากการปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วย
การดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ วรรคสี่
ด้วยสำนักงานอัยการภาค ๖ หารือว่าปัญหาข้อขัดข้องอันเกิดจากการปฏิบัติตาม
ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๕๔ วรรคสี่ ว่า อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๑-๒ ภาค จะถือว่าเป็นผู้บังคับบัญชาถัดขึ้นไปหนึ่งชั้น
ตามความหมายในระเบียบข้อดังกล่าวหรือไม่ สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาแล้ว เห็นว่า ตาม
ระเบียบข้อ ๔ และ ๙ กำหนดให้อัยการพิเศษฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบการดำเนิน
คดีอาญาประจำศาลชั้นต้นเฉพาะในกรุงเทพมหานครเท่านั้น สำหรับในจังหวัดอื่น ๆ นอกจาก
กรุงเทพมหานคร ผู้บังคับบัญชาหมายถึงอธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการภาคและอัยการจังหวัด
ดังนั้น อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๑ - ๒ ภาค จึงไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาตามระเบียบข้อ ๕๔ วรรคสี่
ผู้บังคับบัญชาถัดขึ้นไปหนึ่งชั้นจากอัยการจังหวัด ได้แก่ รองอธิบดีอัยการภาค หรืออธิบดีอัยการภาค
แล้วแต่กรณี
ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจหรือบุคคลที่ศาลสั่งให้จัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูรายงานให้ศาลทราบ หากศาลเห็นชอบด้วย ให้ศาลสั่ง
จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และมีคำสั่งในเรื่องของกลาง โดยให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้มีส่วน
ได้เสียที่จะดำเนินคดีส่วนแพ่ง”
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๓๒ วรรคหนึ่ง
บัญญัติว่า “ในกรณีที่ศาลเห็นว่าตามพฤติการณ์แห่งคดียังไม่สมควรจะมีคำพิพากษาหรือบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งจำเลย
อาศัยอยู่ด้วยร้องขอ เมื่อศาลสอบถามผู้เสียหายแล้ว ศาลอาจมีคำสั่งให้ปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวแล้วมอบตัวจำเลยให้บุคคลดังกล่าว
โดยไม่มีประกัน หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้ โดยกำหนดเงื่อนไข เช่น ให้จำเลยรายงานตัวต่อพนักงาน
คุมประพฤติหรือเจ้าพนักงานอื่นหรือบุคคลใดหรือองค์การด้านเด็ก เข้ารับการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูรับคำปรึกษาแนะนำ เข้าร่วมกิจกรรม
บำบัดหรือกิจกรรมทางเลือก หรือให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินกว่าจำเลยนั้นมี
อายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ในการนี้ศาลมีอำนาจสั่งให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งจำเลยอาศัยอยู่ด้วยเข้าร่วมกิจกรรม
หรือรับคำปรึกษาแนะนำด้วยก็ได้”
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๓๓ วรรคหนึ่ง
บัญญัติว่า “เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขและภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดตามมาตรา ๑๓๒ แล้ว ให้ศาลสั่งยุติคดีโดยไม่ต้อง
มีคำพิพากษาเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลย เว้นแต่คำสั่งเกี่ยวกับของกลาง และให้ถือว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอัน
ระงับ”
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 125