Page 130 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 130
- ส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งที่แตกต่างกับระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ กล่าวคือ กรณีคดี
เลิกกันตามมาตรา ๓๗ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นั้น ตามระเบียบฯ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ กำหนดให้เป็นเงื่อนไขระงับคดีเฉพาะกรณีมาตรา ๓๗ (๑) (คดีมีโทษ
ปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมเสียค่าปรับอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่
พนักงานเจ้าหน้าที่ฯ) แต่กรณีการเปรียบเทียบตามมาตรา ๓๗ (๒)(๓)(๔) ระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๕๔ ไม่ได้กำหนดให้เป็นเงื่อนไขระงับคดี หากแต่เป็นเรื่องการสั่งคดีเปรียบเทียบ
แต่ตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ กำหนดให้กรณีคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗ (๑)(๒)(๓)(๔)
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ล้วนเป็นเงื่อนไขระงับคดี แล้วจำแนกต่อไปว่า
ถ้าเป็นกรณีมาตรา ๓๗ (๑)(๔) จะสั่งยุติการดำเนินคดี และถ้าเป็นกรณีมาตรา ๓๗ (๒)(๓)
จะเป็นการสั่งคดีเปรียบเทียบ
- อธิบายเพิ่มเติมได้ว่า ระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๓) และ (๔)
แม้กล่าวรวมกันได้ว่า “คดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา”
ซึ่งตรงกันกับความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๓) แต่การที่แยกเป็น
ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๓) และ (๔) เป็นเพราะในข้อ ๔๘ วรรคสาม และวรรคสี่ ได้กำหนดรูปแบบ
การสั่งคดีสำหรับเงื่อนไขระงับคดีตามข้อ ๔๘ วรรคสอง (๓) และ (๔) ไว้แตกต่างกัน กล่าวคือ
กรณีเงื่อนไขระงับคดีตามข้อ ๔๘ วรรคสอง (๓) จะต้องสั่งคดีว่า “ยุติการดำเนินคดีเพราะ....”
ส่วนกรณีเงื่อนไขระงับคดีตามข้อ ๔๘ วรรคสอง (๔) ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าการเปรียบเทียบนั้น
ถูกต้องแล้วจะต้องสั่งคดีว่า “การเปรียบเทียบชอบแล้ว” ตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๘๐
- อาจสรุปผลแตกต่างระหว่างระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๓)(๔)
กับระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ วรรคสอง (๓) ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้ว่า แตกต่างกันตรงที่กรณี
“ในคดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของ
พนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๗ (๔) ซึ่งเดิม
ตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ หากพนักงานอัยการเห็นว่าการเปรียบเทียบถูกต้องแล้วจะสั่งว่า
“การเปรียบเทียบชอบแล้ว” แต่ระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ จะสั่งในกรณีดังกล่าวว่า “ยุติการ
ดำเนินคดีเพราะผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว” ซึ่งตาม
ระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคห้า กำหนดให้หัวหน้าพนักงานอัยการเป็นผู้ออกคำสั่งยุติ
การดำเนินคดีแล้วเสนอให้ผู้บังคับบัญชาถัดขึ้นไปหนึ่งชั้นทราบ จึงเท่ากับมีการตรวจสอบมากกว่า
กรณีการสั่งคดีเปรียบเทียบ
- จากการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงมีผลให้คำชี้ขาดความเห็นแย้ง สำนวน
เลขรับที่ ๑๕๐๑/๒๕๕๙ ที่ว่า เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรมมอบหมายให้มีอำนาจเปรียบเทียบ ได้เปรียบเทียบผู้ต้องหาในความผิดตาม
พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑ มาตรา ๓๖, ๕๕, ๕๗ ตรี และ
พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนมายังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา พนักงานอัยการ
จะต้องพิจารณาดำเนินการตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญา
120 บทความ