Page 132 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 132

หากพนักงานสอบสวนส่งเป็นสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณาอีก ทั้งตามระเบียบฯ
          พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ วรรคสอง (๑๐) และระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๑๑) กำหนดให้

          เป็นเงื่อนไขระงับคดีที่จะต้องสั่งยุติการดำเนินคดี
                  ๖.  ระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคสอง (๑๒) “มีเหตุสิทธินำคดีอาญามาฟ้อง
          ระงับตามกฎหมายอื่น” เป็นข้อย่อยที่เพิ่มเติมขึ้น โดยไม่มีในระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ มีที่มา
          คือ เนื่องจากมีกฎหมายหลายฉบับที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับเมื่อเข้าเงื่อนไขที่
          กำหนด จึงควรกำหนดให้เป็นเงื่อนไขระงับคดีตามระเบียบดังกล่าวด้วย
                  ๗. เดิม ตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ วรรคสี่ กำหนดให้พนักงานอัยการผู้มีอำนาจ

          ดำเนินคดีเป็นผู้พิจารณาสั่งยุติการดำเนินคดีแล้วเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาถัดขึ้นไปหนึ่งชั้น
          ทราบโดยเร็ว แต่ตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคห้า กำหนดให้หัวหน้าพนักงานอัยการ
          เป็นผู้พิจารณาออกคำสั่งยุติการดำเนินคดีแล้วเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาถัดขึ้นไปหนึ่งชั้นทราบ
          โดยเร็ว การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าวน่าจะมีความประสงค์ให้เป็นการยกระดับการตรวจสอบ
          ในการนี้เพิ่มขึ้น

          
     ๔. หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขระงับคดีและการออกคำสั่งกรณีสิทธิฟ้องคดีอาญา
          ระงับ
                  (๑)  หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส ๐๐๑๘/ว ๑๑๕ ลงวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๕
          เรื่อง การสั่งยุติการดำเนินคดี
          


   
 (อ้างถึงหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส ๐๐๐๔/ว ๑๑ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๔
          เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๘

          ข้อ ๒๙)
                  บัดนี้ ปรากฏว่าได้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นเกี่ยวกับการสั่งยุติการดำเนินคดีตาม
          ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๗) โดยได้มีการออกคำสั่งยุติการดำเนินคดี
          โดยอ้างเหตุที่ผู้ต้องหาไม่ต้องรับโทษ เนื่องจากไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้
          ในขณะกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๕ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง

          สำนักงานอัยการสูงสุดจึงขอซักซ้อมความเข้าใจดังนี้  คำว่า  “เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ”
          ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๗) หมายถึง กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติ
          ให้การกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความผิดแล้ว แต่ถ้าผู้กระทำได้กระทำการบางอย่าง
          ตามเงื่อนไขของกฎหมายนั้น ๆ แล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ เช่น พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ฉบับที่ออกใหม่
          บัญญัติว่าถ้าผู้ที่มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตนำปืนมามอบแก่เจ้าพนักงานภายใน ๖๐ วัน นับแต่
          วันที่พระราชบัญญัตินั้นใช้บังคับผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ เป็นต้น ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะเรื่องเฉพาะบางความผิด

          และมักจะมีกำหนดระยะเวลาของการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จะได้รับยกเว้นโทษด้วย ส่วนกรณีที่
          กำหนดในประมวลกฎหมายอาญาว่าผู้กระทำไม่ต้องรับโทษที่มีอยู่ในมาตรา ๖๕, ๖๗, ๗๐, ๗๑,
          ๗๓, ๗๔ หรือ ๘๒ นั้น บัญญัติไว้โดยไม่จำกัดความผิด เป็นกรณีที่ใช้ได้กับความผิดทั่ว ๆ ไป และ
          เป็นกรณีที่อาจจะต้องให้ศาลเป็นผู้พิจารณา จึงไม่อยู่ในความหมายของ “กฎหมายยกเว้นโทษ”

          ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ กรณีเช่นนี้ต้องสั่งไม่ฟ้องและต้อง



              122   บทความ
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137