Page 134 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 134
สำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘
ข้อ ๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๔) หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส (สฝปผ.) ๐๐๑๘/ว ๑๙๔ ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๘
เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บรักษาสำนวนคดี
สำนวนที่ปรากฏตัวผู้ต้องหา แต่ยังเรียกหรือจับตัวไม่ได้ (ส.๒) หากยังจับตัวผู้ต้องหามา
ดำเนินคดีไม่ได้ภายในอายุความ ให้พนักงานอัยการสั่งยุติคดี แล้วให้แยกเก็บต่างหากเพื่อรอการ
สำรวจเพื่อทำลายต่อไป
(๕) หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส (สฝปผ.) ๐๐๑๘/ว ๙๔ ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๙
เรื่อง การออกคำสั่งกรณีสิทธิฟ้องคดีอาญาระงับตามกฎหมายศุลกากร
สำนักงานอัยการสูงสุดเห็นควรกำหนดแนวทางปฏิบัติในการออกคำสั่ง กรณีที่อธิบดีกรม
ศุลกากรหรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายศุลกากรสั่งงดการฟ้องร้องผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติ
ศุลกากร พุทธศักราช ๒๔๖๙ มาตรา ๑๐๒ และมาตรา ๑๐๒ ทวิ เนื่องจากผู้ต้องหายินยอมและใช้
ค่าปรับหรือได้ทำความตกลงหรือทำทัณฑ์บนหรือให้ประกัน อันเป็นเงื่อนไขระงับคดี โดยหากมี
เงื่อนไขระงับคดีดังกล่าวให้พนักงานอัยการออกคำสั่งว่า “ยุติการดำเนินคดีเพราะเหตุสิทธิฟ้องคดี
๕
อาญาระงับไปตามกฎหมายในกรณีอื่น”
(๖) หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส ๐๐๐๓ (นผ)/ว ๓๗๔ ลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐
เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการสั่งคดีที่ขาดอุทธรณ์หรือฎีกา
ด้วยปรากฏว่าในกรณีที่พนักงานอัยการไม่สามารถยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาได้เพราะเหตุที่
ล่วงเลยกำหนดเวลาตามกฎหมาย ในการปฏิบัติของพนักงานอัยการในกรณีดังกล่าวยังมีความเห็น
และคำสั่งไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยเห็นว่าควรสั่งยุติการดำเนินคดีส่วนหนึ่ง และอีกส่วน
หนึ่งเห็นว่าควรสั่งไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกาแล้วแต่กรณี สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า
กรณีที่พนักงานอัยการไม่สามารถยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาได้เพราะเหตุที่ล่วงเลยกำหนดเวลาตาม
กฎหมาย พนักงานอัยการต้องออกคำสั่งไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกาแล้วแต่กรณีตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๕ ไม่อาจออกคำสั่งยุติการดำเนินคดีได้เพราะไม่เข้าเงื่อนไขการ
ระงับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙
(๗) หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ด่วนที่สุด ที่ อส ๐๐๒๗ (ปผ)/ว ๑๒๗ ลงวันที่ ๒๐
พฤษภาคม ๒๕๕๔ เรื่อง แนวทางปฏิบัติตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและ
วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ ๖
๕ ต่อมา พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช ๒๔๖๙ ถูกยกเลิกและใช้บังคับแทนโดยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐
ซึ่งในมาตรา ๒๕๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕๗ บรรดาความผิด
ตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าบุคคลนั้นยินยอมใช้ค่าปรับ หรือได้ทำความตกลง หรือทำทัณฑ์บน หรือให้ประกันตามที่อธิบดีเห็นสมควรแล้ว
อธิบดีจะงดการฟ้องร้องเสียก็ได้ และให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา”
๖ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๙๒ บัญญัติว่า
“ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูที่ศาลเห็นชอบฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหรือมีเหตุจำเป็นต้องแก้ไข
เปลี่ยนแปลงแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูนั้น ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจหรือบุคคลที่ศาลสั่งให้จัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูรายงาน
ให้ศาลทราบและให้ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควรหรือยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป แต่ถ้าปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูครบถ้วนแล้ว
124 บทความ